บทคัดย่อ
บันทึกความทรงจำของ แฟร์เนา เมนเดซ ปินโต เป็นเรื่องเกี่ยวกับ สภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และเหตุการณ์การบ้านเมืองต่างๆ และประวัติของเขาน่าตื่นเต้น บันทึกของปิ่นโต ถูกอ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ไทย ตั้งแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มาจนปัจจุบัน หนังสือนี้มีสถานะเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์ หรือเป็นเพียงนิยายผจญภัย
ประวัติ
ปินโตเป็นชาวเมือง มองเตอมูร์เก่าในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวที่บยากจน เมื่ออายุ 10 หรือ 12 ขวบ ได้เป็นคนรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ใน ค.ศ 1523 เขาตกอยู่ในอันตรายหนีลงเรือ การผจญภัยของปินโต ก็เริ่มขึ้น เมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว ในอินเดียอายุ 28 ปี เขากลับมาสู่มาตุภูมิ เป็นเวลา 21 ปี ของการแสวงโชคในเอเชีย ปินโตเคยเดินทางไปเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรอินเดียตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้ง และถูกจับเป็นทาส 13 ครั้ง ปินโตผ่านทั้งการเป็นลูกเรือ กลา สีเรือ ทหาร พ่อค้า ฑูต และนักสอนศาสนา เมื่อกลับโปรตุเกส เขาพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากพระราชสำนัก ปินโตจึงไปอยู่ที่เมือง ปากัลป์ ทางใต้ของโปรตุเกส ปินโตเขียนหนังสือ Peregrinacao ขึ้น ถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรม ปิยโตเคยเข้าสยาม 2 ครั้ง ครั้งแรกเข้ามาที่ปัตตานี และนครศรีธรรมราช ครั้งที่2 เข้ามายังกรุงศรีอยุธยา
หลังจากปินโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือให้แก่สำนักบวช ที่กรุงลิสบอน ต่อมากษัตริย์ฟิลิปที่1และท่านก็เป็นกษัตริย์ฟิลิปที่2ด้วย ทรงได้ทอดพระเนตร งานนิพนธ์ชิ้นนี้ บุตรีของปินโตจึงได้รับพระราชบำเหน็จรางวัลแทนบิดา งานเขียนของปินโต พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 เป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศษ ภาษาอังกฤษ กรมศิลปกรได้เผยแพร่บันทึกของปิ่นโตบางส่วนในชื่อ การท่องเที่ยวผจญภัย ของ แฟร์นังค์ มังเดซ ปินโต
รูปแบบการนำเสนอ
เสนอในรูปของร้อยแก้ว บางตอนได้ฟังมาจากคำบอกเล่า และการสอบถามผู้รู้ อาทิ เหตุการณ์เมื่อสมเด็จพระไชยาราชาธิราชทรงเสด็จสวรรคต ปินโตระบุว่า การเดินทางของเขามีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้มีการเรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ของโลก มิได้มีประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความท้อถอย การติดต่อกับดินแดนแถบเอเชีย เขาอุทิศการทำงานให้แก่พระเจ้า มิได้หวังชขื่อเสียง จุดมุ่งหมายของปินโตคือ สะท้อนให้เห็นคุณค่า และเหตุการณ์ สถานที่ ทรัพยากร อารมณ์ อารมณ์ ความรู้สึก และวัฒนธรรมอันหลากหลายที่ปรากฎในหนังสือ
คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม
ทหารโปรตุเกตุจำนวน 120 คน ซึ่งสมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงจ้างมาเป็นทหารรักษาพระองค์ ได้สอนชาวสยามได้รู้จักการใช้ปืนใหญ่ ทหารโปรตุเกส ส่งผลให้มีการเริ่มปรับปรุง ตำราพิชัยสงคราม ภายใต้การช่วยเหลือของที่ปรึกษาชาวโปรตุเกส จนเป็นที่มาของการก่อตั้ง กรมการก่อตั้งฝารั่งแม่นปืน
ความน่าเชื่อถือ
การผจญภัยของปินโตมีลักษณะคล้ายเรื่องราวในนิยายอาหรับและตั้งฉายาเขาว่า ซินแบดแห่งโปรตุเกส ดับเบิ้ลยู เอ.อาร์.วูด ชี้ว่าควรจะอ่านงานเขียนของปินโตในฐานะที่เป็นเรื่องราวของชายชราที่ได้ เดินทางกลับไส่มาตุภูมิอีกครั้งหนึ่ง เพื่อความบันเทิงมิใช่เป็นประวัติสาสตร์ที่เขียนเป็นวันต่อวัน และตั้งข้อสงสัย เกี่ยวกับความแม่นยำ ของปีศักราชในบันทึกนี้ด้วย งานเขียนของปินโตบางส่วนมีรูปแบบเป็นจดหมาย ติดต่อกับบุคคล(Campos.1940.21)ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้าม ความแม่นยำของเวลา ที่ระบุในบันทึกของเขา
สรุป
ผู้เขียนเห็นว่างานนิพนธ์ของปิ่นโต มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเพียงวรรณกรรม ประโลมโลกหรือนิยายผจญภัยของกลาสีเรือ แม้เนื้อหาบางตอน จะดูตื่นเต้นเร้าใจเกินกว่า จะมีความสมจริง ตามทัศนะของนักประวัติศาสตร์ แต่ในสภาวะที่ ยุโรปเพิ่งจะพ้นยุคแห่งการจุดไฟเผาหญิงสาวที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มด และยังคงเคร่งต่อจริยธรรมทางศาสนา มีใครบ้างที่จะกล้าเปิดเผย ต่อสาธารณชน ว่าตนเองเคยรับประทานเนื้อมนุษย์ เพื่อประทังชีวิตกลางทะเล หลังจากถูกโจรสลัดโจมตี ข้อถกเถียงในงานของปินโต อาจจะมีอยู่ไม่น้อย แต่มีหลักฐานประวัติศาสตร์ชิ้นใดบ้างที่ ปราศจากคำถาม และความเคลือบแคลง งานของปิ่นโตถูกตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความแม่นยำของศักราชก็เพราะบันทึกของเขาเป็นเอกสารที่ เขียนขึ้นจากความทรงจำเมื่อเขาเดินทางกลับไปใช้ชีวิตในโปรตุเกสระยะหนึ่งแล้ว พระราชพงศาวดารกรุงศรี อยุธยาฉบับหลวงประเสริฐ ได้รับความเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ว่ามีความแม่นยำในเรื่องศักราช และเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์(นิธิใ2525:65)แต่ต่อมานักประวัติสาสตร์บางท่านก็เคยตั้งข้อสงสัยต่อสถานภาพดังกล่าว ซึ่งถือเป็นความไม่เที่ยงของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในทางกลับกันอาจจะมีผู้ใช้ บันทึกของปินโตมาตรวจสอบความแม่นยำของเอกสารฉบับใด ฉบับหนึ่งอย่างจริงจังในอนาคตก็ได้
วิจารณ์
ปินโตเป็นหลักฐานทางประวัติศาตร์ ที่มีหลักฐานจริงและเรื่องเกิดขึ้น เป็นการท่องเที่ยวที่สนุกและมีแง่มุมให้เราคิดหลายอย่าง
เว้นช่องว่าระหว่างย่อหน้าด้วย และวิจารณ์ด้วยว่าเป็นนิยายหรือหลักฐานประวัติศาสตร์
ตอบลบ