วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 12 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว







การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce: E-Commerce)
คือการทำธุรกรรมผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks) โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของบริษัทและองค์กรให้ดียิ่งขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของการประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียงและภาพ


รูปแบบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันนั้นได้พัฒนาขึ้นมาจากรูปแบบหลัก 2 ประการ คือ
1. รูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI) โดยเกิดขึ้นระหว่างบริษัทและองค์กรต่างๆ ที่มีการทำธุรกรรมร่วมกัน
2. รูปแบบการใช้บริการตู้จ่ายเงินสดอัตโนมัติ (ATMs) เกิดขึ้นระหว่างลูกค้าและสถาบันการเงินนั้นๆ

“จำกัดจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งหรือแบบตัวต่อตัวเท่านั้น” (one to one)

“จำกัดจากที่หนึ่งไปยังอีกหลายๆที่” (onetoo many)

ปัจจุบันนี้การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้โดยปราศจากข้อจำกัดโดยเป็นแบบ“จากทุกๆที่” (many to many) ซึ่งต่อมารูปแบบได้เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า อินเตอร์เน็ต (internet) เหตุผลหลักที่ทำให้จำนวนบริษัทและองค์กรต่างๆ หันมาใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น
•คือ การที่บริษัทและองค์กรสามารถจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคได้โดยตรงในราคา ที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกับราคาขายปลีกโดยไม่ต้องแบ่งปันผลกำไรให้แก่ตัวแทน จำหน่ายหรือช่องทางการจัดจำหน่ายอื่นๆ
•ทำ ให้บริษัทและองค์กรมีรายได้และมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงคุณภาพการบริการให้ดียิ่งขึ้น และขนส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย ความสัมพันธ์ระหว่าง การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ VS อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประโยชน์ทางด้านการติดต่อสื่อสารสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประโยชน์ทางด้านการขายสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ตัวอย่าง ธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่นำเอาระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์ http://www.airasia.com/ http://www.thaiairways.com/

ผลกระทบของระบบอินเตอร์เน็ตที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
การเข้ามาของระบบอินเตอร์เน็ตนั้นมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากมายโดยครอบคลุมทั้งธุรกิจทางด้านการท่องเที่ยวและการบริการต่างๆ โดยเกี่ยวข้องกับเรื่องข้อมูลต่างๆ การตลาด ผลิตภัณฑ์ และการบริการเนื่องจากผู้ใช้ระบบอินเตอร์เน็ตในการซื้อสินค้าและการบริการทางด้านการท่องเที่ยวนั้นเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว


วิธีการระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ได้ประโยชน์อย่างสูงสุด

-การประชาสัมพันธ์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
-การกระจายข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
-การเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
-การจองผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

บทที่ 11 องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว











องค์กร ท่องเที่ยวโลก เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อตามวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว นานาชาติในระดับระหว่างรัฐบาลโดยจัดตั้งเป็นองค์การที่มีชื่อว่าWorld Tourism Organization: WTO
องค์กรการท่องเที่ยวโลกจัดชึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้

1.เพื่อ ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างความเข้าใจระหว่างประเทศ สันติภาพ ความมั่งคั่ง โดยเคารพหลักสากลในด้านสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนทั่วโลก โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และเพศ
2.เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ จึงให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อ ประโยชน์ของประเทศที่กำลังพัฒนาในด้านการท่องเที่ยว
3.เพื่อ ดำเนินการตามบทบาทด้านการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ องค์การจึงสร้าง และธำรงไว้ในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพกับองค์การสหประชาชาติ ตลอดจนทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การ สหประชาชาติ โดยองค์การจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICOA)มี สำนักงานใหญ่อยู่ที่นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นในปี 2487 (ค.ศ.1944) ปัจจุบันมีสมาชิก 188 ประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายขององค์การ คือ ส่งเสริมการบินพลเรือนให้กว้างขวางไปทั่วโลกองค์การ นี้มีสำนักงานสาขาประจำภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิกในประเทศไทยโดยตั้งอยู่บน ถนนวิภาวดีรังสิต (ติดกับสวนจตุจักร) ลาดพร้าว กรุงเทพฯ

องค์กรระดับภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาครัฐองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development-OECD)ก่อ ตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1960 ที่กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส องค์กรนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวกล่าว คือ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการการท่องเที่ยวขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวประสาน งานการศึกษาทางด้านการท่องเที่ยวและเป็นผู้ดำเนิน การจัดประชุมประเทศสมาชิก เพื่อปรับปรุงวิธีการทางสถิติของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราและระบบบัญชี องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนายังได้จัดทำรายงานประจำปีที่ เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ภายใต้ชื่อว่า “Tourism Policy and International Tourism in OECD MemberCountries”

องค์กรระดับอนุภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาครัฐคณะอนุกรรมการด้านการท่องเที่ยวภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการท่องเที่ยวอาเซียน (Sub-Committee on Tourism of the Committee on Trade and Tourism)วัตถุ ประสงค์ในการดำเนินงานคือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน ส่งเสริมให้มีความร่วมมือกันอย่างจริงจังระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาค เอกชนที่เกี่ยวข้องในกิจการท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจนำเที่ยว เป็นต้น

องค์กรระดับโลกที่ดำเนินการโดยภาคเอกชนWorld Travel and Tourism Council: WTCCสภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกสมาชิก ของสภาจะเป็นองค์การที่ได้รับการเชิญให้เป็นสมาชิกเท่านั้น โดยการพิจารณาให้เป็นสมาชิกดูที่ว่าเป็นธุรกิจที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ รวมทั้งเป็นองค์การที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก หรือระดับภูมิภาคหรือไม่ เช่น สายการบิน โรงแรม ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจนำเที่ยว หรือธุรกิจให้เช่ารถ เป็นต้น
สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกมีพันธกิจในการดำเนินงาน 3 ด้านหลัก ดังนี้

1.การดำเนินงานตามวาระการประชุม การ สร้างความตระหนักถึงผลกระทบถึงการเดินทางและการท่องเที่ยว และชักชวนรัฐบาลให้คำนึงถึงความสำคัญของการสร้างงานและยกระดับเศรษฐกิจของ ประเทศด้วยการเดินทางและการท่องเที่ยว
2.การเป็นผู้อำนวยความสะดวก การช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมเข้าใจ คาดหวัง แปลความหมาย และดำเนินงานการพัฒนาภูมิหลักของโลก
3.การ สร้างเครือข่ายสภา สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกเป็นสภาของผู้นำทางธุรกิจที่ผู้มีส่วน เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเดินทางและการท่องเที่ยวอยากเข้ามามีส่วนร่วม International Congress andConvention Association: ICCA

สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ
สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการระหว่างประเทศ และ เป็นตัวกลางในการอำนวยความสะดวกในการจัดบริการด้านที่พัก การจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประชุมและการจัดนิทรรศการองค์กรระดับภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาคเอกชนThe Pacific Asia Travel Association: PATAมีวัตถุประสงค์การดำเนินงานเพื่อกระตุ้นความสนใจให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นดินแดนเพื่อการพักผ่อน เพื่อ พัฒนา ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวไปสู่แหล่งท่องเที่ยวในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 3 ของโลก และให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคแปซิฟิก

วัตถุประสงค์หลักในการดำเนินงานของสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่
1. เป็นสื่อกลางแห่งความร่วมมือระหว่างประเทศ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
2. การให้ความช่วยเหลือด้านการส่งเสริม และการพัฒนาแก่ประเทศสมาชิก และช่วยหาแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการที่เกี่ยวกับที่พัก และการพักผ่อนหย่อนใจ
3. การประสานงานระหกว่างสมาชิกทั้งมวลกับวงการอุตสาหกรรมขนส่ง และธุรกิจการท่องเที่ยว
4. การดำเนินการโฆษณา ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นที่รู้จักกว้างขวางในฐานะที่เป็นภูมิภาค ที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวพักผ่อนแห่งหนึ่งของโลก
5. การส่งเสริมให้มีการบริการ และการอำนวยความสะดวกในด้านการขนส่งทั้งที่เข้ามา และภายในภูมิภาคแปซิฟิกให้พอเพียง
6. การดำเนินการด้านสถิติ และค้นคว้าวิจัยแนวโน้มของการเดินทางท่องเที่ยว และการพิจารณาของการท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์แก่สมาชิกทั้งมวล ASEAN Tourism Association: ASEANTA

สมาคมท่องเที่ยวอาเซียนเป็นการรวมตัวของสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว สมาคมโรงแรม และสายการบินแห่งชาติอาเซียน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อรวมให้สมาชิกมีจุดมุ่งหมายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการประสานความร่วมมือ มิตรภาพ ตลอดจนความช่วยเหลือต่อกัน
2. เพื่อรักษาระดับของมาตรฐานการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้เดินทางและนักท่องเที่ยว
3. รักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิและคุณธรรมของธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อคงไว้ซึ่งงานอาชีพแขนงหนึ่ง
4. สนับสนุนและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน
5. กระตุ้น สนับสนุน และช่วยพัฒนาการท่องเที่ยวภายในภูมิภาคอาเซียน
6. ประสานงานและให้คำแนะนำแก่สมาคม หน่วยงานของรัฐ เอกชน และองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกหรือเกี่ยวข้องในวงการธุรกิจท่องเที่ยว ในกลุ่มประเทศอาเซียน
7. ให้บริการหรือความช่วยเหลือต่อภาครัฐบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว American Society of Travel Agents ASTA

สมาคมบริษัทนำเที่ยวแห่งอเมริกาสมาคม นี้ถือได้ว่าเป็นสมาคมของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นองค์การเดียวที่รวบรวมสมาชิกต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทุกสาขาไว้ด้วยกันปัจจุบันสมาคมมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเพื่อ
1. วางมาตรการการบริการแก่นักท่องเที่ยว
2. ส่งเสริมการท่องเที่ยว และประสานงานการดำเนินงานของบริษัทนำเที่ยวในสหรัฐอเมริกา
3. ให้ความร่วมมือแก่องค์การระหว่างประเทศ และสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศต่างๆ ทั่วโลก
4. ขจัดปัญหาและร่วมอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวเป็นส่วนรวมสำหรับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นั้นเข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี พ.ศ.2509องค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย

กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา(Ministry of Tourism and Sport)
สำนัก งานพัฒนาการท่องเที่ยวมีภารกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในการพัฒนามาตรฐาน การบริการด้าน การท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการสนับสนุนการประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ให้อยู่ในระดับ มาตรฐานเพื่อ ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเพื่อก่อให้เกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ซึ่งเดิมเป็นภารกิจของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และได้ถ่ายโอนมาให้สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ประกอบกับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2545 นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว ยังรับโอนงานพัฒนาและสนับสนุนกิจการภาพยนตร์มาจากกรมประชาสัมพันธ์ด้วยThailand Convention and Exhibition Bureauเป็นองค์การมหาชนของรัฐ สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดตั้งในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2545 ทำหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดประชุมและนิทรรศการ (MICE) นานาชาติในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นสถานที่สำคัญในการจัดกิจกรรมดังกล่าวองค์กรภาคธุรกิจเอกชนสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (Association of Thai Travel Agents :ATTA)
สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (Thai Travel Agents Association: TTAA)
สมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวแห่งประเทศไทย (สนท. The Association of Thai Tour Operators: ATTO)
สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย (สมอ. Professional Guide Association Thailand: PGAสภา อุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรภาคเอกชน จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดในพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 ดังนี้
-เป็นตัวแทนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านการประสานงานอย่างมีระบบ ระหว่างรัฐกับเอกชนด้วยกัน-ส่งเสริมให้มีการพัฒนาการประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถาน และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
-ส่งเสริมให้มีจรรยามารยาทในการท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้มีระบบการรับรองคุณภาพ ระบบมาตรฐาน และระบบประกันคุณภาพของธุรกิจที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการสำหรับนักท่องเที่ยว
-ควบคุมดูแลให้สมาชิกผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวดำเนินการอย่างมีคุณภาพ มีคุณธรรม และมีจรรยาบรรณ
-ส่ง เสริมสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทดลอง อบรม และเผยแพร่วิชาการและเทคโนโลยี เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้แก่สมาชิก หรือจัดเป็นบริการบุคคลทั่วไป
-ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อสมาชิก และบุคคลทั่วไปทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ
-เสนอความเห็นหรือให้คำปรึกษาต่อคณะรัฐมนตรีในเรื่องเกี่ยวกับอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว
-ให้ความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม กิจการด้านการท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ
-คุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างสมาชิกด้วยกัน
-ศึกษาและหาทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
-ดำเนินกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

บทที่ 10 กฏหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว



อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับองค์กรณ์หลายฝ่ายทั้งรัฐและเอกชน และด้วยเหตุที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการสั่งการในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวดั้งนั้นกฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1.กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป
2.กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว

3.กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว
4.กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว

กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป
มีกฎหมายสำคัญจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
1.พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522
-คำจำกัดความของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวและคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
-ระเบียบเกี่ยวกับการจัดตั้งทุน และเงินสำรองของการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยระเบียบเกี่ยวกับการกำกับ การควบคุมและการบริหารงานของททท.

2.พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
-กฎหมายก่อตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขึ้นรับผิดชอบด้านการท่องเที่ยว
-ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โอนภาระงานด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาบริการท่องเที่ยว และทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวให้กับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
-ทำให้ททท.มีหน้าที่เพียงด้านการบริหารจัดการตลาดการท่องเที่ยวเป็นหลักพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544
-กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1)เป็นตัวแทนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านการประสานงาน
2)ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
3)ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถาน และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
4) ส่งเสริมให้มีจรรยามารยาทในการท่องเที่ยวพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ถึง 2546 (รวม 5 ฉบับ)
-เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
-จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
-คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว มีกฎหมายสำคัญ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่
2.1พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522, 2523 และ 2542
-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าออกในประเทศไทยในฐานะนักท่องเที่ยว
-ดูแลเกี่ยวกับการเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าว
-การควบคุมพาหนะที่เข้า
-ออกประเทศตามช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือท้องที่ที่กำหนด
2.2พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ถึง 2548-เป็นกฎหมายเก่าแก่ที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2469 และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่อยมาโดยลำดับ
-ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มีกฎหมายศุลกากรใช้บังคับอยู่รวม 20 ฉบับ
-เนื้อหาเกี่ยวข้องกับการนำของเข้า การส่งของออก

การเสียภาษีตามพิกัดอัตราศุลกากรของนักท่องเที่ยว รวมทั้งระเบียบว่าด้วยการตรวจของและป้องกันการลักลอบหนีศุลกากร และข้อกำหนดเรื่องการนำเงินตราเข้าออกประเทศกฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวมีกฎหมายสำคัญ จำนวน 17 ฉบับ ได้แก่
1. พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504
-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองดูแลรักษาและจัดการอุทยานแห่งชาติอันเป็นทรัพยากรการ ท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติซึ่งต้องการให้มีการจัดการ การอนุรักษ์ และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน
-อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 และ 2546
-เกี่ยวข้องกับการสงวนและคุ้มครองโดยคณะกรรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ เพื่อไม่ให้สัตว์ป่าเหล่านั้นถูกทำร้ายและสูญพันธุ์ในบริเวณเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ
-กิจกรรมการดูนก ส่องสัตว์ในบริเวณดังกล่าว สำหรับนักท่องเที่ยวจึงมีความจำเป็นและเกี่ยวโยงกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

3. พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507, 2522 และ 2528
-เกี่ยวข้องกับการจัดการดูแลพื้นที่บริเวณที่เป็นป่าสงวน
-ซึ่งปัจจุบันสถานที่ท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ยังคงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ

4. พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484, 2522 และ 2525เกี่ยวกับการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ
-ควบคุมการตัดไม้ ทำไม้ และของป่าหวงห้าม รวมทั้งควบคุมการนำไม้และของป่าเคลื่อนออกจากป่า
-เพื่อมิให้มีการตัดไม้และทำลายไม้โดยไม่จำเป็น และสงวนไม้มีค่าบางชนิดเอาไว้
-มีส่วนช่วยในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของป่าให้ยั่งยืน

5. พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510, 2522 และ 2534
-การสำรวจแร่หรือทำเหมือง ถ้าพบโบราณวัตถุหรือซากดึกดำบรรพ์หรือแร่พิเศษอันมีคุณค่าแก่การศึกษาในทางธรณีวิทยา จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บได้ซึ่งวัตถุนั้น และผู้ถืออาชญาบัตรหรือผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว หรือผู้ถือประทานบัตรจะต้องแจ้งต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องถิ่น
-มีส่วนในการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวเช่นกัน

6. ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2520
-การสำรวจและทำสำมะโนที่ดินเพื่อให้ทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ และความเหมาะสมแก่การทำประโยชน์ของรัฐและประชาชน
-กระทรวงมหาดไทยได้อาศัยมาตรา 9 (2) ออกประกาศลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2523 มิให้มีการทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพในบริเวณที่เขาหรือภูเขา และปริมณฑลรอบที่เขาหรือภูเขาสูง 40 เมตร บริเวณแม่น้ำลำคลอง รวมถึงที่ดินของรัฐที่มิได้มีบุคคลผู้ใดมีสิทธิครอบครองเฉพาะบริเวณที่ดินที่เป็นหิน ที่กรวด หรือที่ทราย

7. พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและอนุรักษ์ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม ความเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้คงอยู่สืบไปซึ่งกิจกรรมประเพณีและศิลปวัฒนธรรมจัดเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวที่สำคัญ การดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ

8.พระราชบัญญัติรักษาคลอง รศ. 121เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลและจัดการกับพื้นที่บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ให้อยู่ในสภาพดีและเหมาะสม ปัจจุบันบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในกรุงเทพมหานคร ดังนั้นการดำเนินการใดๆในพื้นที่แห่งนี้ต้องถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเกาะรัตนโกสินทร์

9. พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.2535เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียน การกำกับดูแลโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และป้องกันการค้าโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ผิดกฎหมาย การจัดตั้งอุทยานประวัติศาสตร์
-ระบุให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเป็นที่เก็บรักษาโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด และมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด
-เนื่องจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมการดำเนินการใดๆจึงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้อย่างเคร่งครัด

10. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535การควบคุมมลพิษ เช่น มลพิษทางอากาศ เสียง ทางน้ำ ของเสียอันตรายฯลฯการส่งเสริมรักษาและกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น มาตรฐานคุณภาพน้ำในแม่น้ำ คลอง ชายฝั่งทะเล มาตรฐานคุณภาพอากาศ มาตรฐานระดับเสียงและความสั่นสะเทือน ฯลฯการกำหนดมาตรฐาน ควบคุมการระบายน้ำทิ้งจาก โรงแรม อาคารชุด หอพักฯลฯ ในแหล่งท่องเที่ยวและควบคุมมลพิษจากแหล่งที่อื่นที่อาจจะส่งผลต่อแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้เคียง

11. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และ 2535ควบคุม ดูแลกิจกรรมต่างๆ ของคณะสงฆ์ ซึ่งรวมถึงที่ดินของวัดอันเป็นที่ตั้งของทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทศาสนสถานและโบราณสถานห้ามแย่งการครอบครองหรือครอบครองปรปักษ์ที่วัด (คือ ที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น) หรือที่ธรณีสงฆ์ (คือ ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด) นั้น และไม่ให้ที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์ตกอยู่ในข่ายของการบังคับคดี คือ ใครจะยึดไปขายทอดตลาดชำระหนี้ไม่ได้ เท่ากับทำให้วัดซึ่งเป็นที่ตั้งของศาสนสถานและโบราณสถานต่างๆ ยังคงดำรงอยู่ตลอดไปห้ามมิให้เจ้าอาวาสหรือผู้แทนโอนที่ดินไปให้บุคคลใดได้ตามใจชอบวัดและวัดร้างที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานยังต้องอยู่ในความควบคุมของพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 การก่อสร้างอาคารต้องได้รับการอนุญาตจาก...............

12. พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528กำหนดให้มีการเผาศพ หรือฝังศพในสุสานและฌาปนสถานสาธารณะหรือเอกชนที่ได้มีผู้ดำเนินการอนุญาตจัดตั้งเท่านั้น จะไปเผาศพหรือฝังศพที่อื่นไม่ได้ เช่น ในที่ป่าไม้ ที่ภูเขา ที่น้ำตก ถ้ำ ฯลฯ ที่มีลักษณะเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยว เพราะจะทำให้ภูมิทัศน์ของพื้นที่เหล่านั้นเสียไป รวมไปถึงการก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับด้านสาธารณสุข คือ อาจเป็นอันตรายในทางอนามัยแก่ประชาชนทั่วไปได้ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลง ต่อเติมสุสานและฌาปนสถานสาธารณะหรือของเอกชน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นข้อห้ามเช่นนี้มีประโยชน์ต่อทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เป็นสุสาน เช่น สุสานทหารสัมพันธมิตร จ.กาญจนบุรี สุสานสงครามช่องไก่ จ.กาญจนบุรี หรือสุสานเจ้าเมืองระนอง จ.ระนอง

13. พระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ. 128 กำหนดหลักเกณฑ์ในการที่จะให้มิสซังกรุงเทพ และมิสซังหนองแสง (นครพนม) ถือที่ดินในประเทศไทยเพื่อก่อตั้งวัดบาทหลวงและสถานที่พักสอนศาสนาวัดและสิ่งก่อสร้างทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกบางแห่งสร้างแบบสถาปัตยกรรมของยุโรป เช่น วัดอัสสัมชัญที่บางรัก หรือโบสถ์คาทอลิกในโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ใน จ.จันทบุรี สร้างขึ้นแบบสถาปัตยกรรมกอธิค เป็นต้นเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวอีกประเภทหนึ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการจะดูและศึกษาถึงการก่อสร้าง ประวัติความเป็นมา และความสวยงามของศาสนสถานนั้นๆ

14. พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 และ 2528 ควบคุม และดูแลทางด้านการประมง อนุรักษ์ที่จับสัตว์น้ำ เช่น กว๊านพะเยา บึงบรเพ็ด ทะเลสาบสงขลา หรือท่าน้ำหน้าวัดต่างๆ ที่มีปลาอาศัยอยู่ เช่น วัดไร่ขิง จ.นครปฐม วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี เป็นต้นช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว เช่น ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่รักษาพืชพันธุ์ (คือที่จับสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในบริเวณพระอารามหรือปูชนียสถาน หรือติดกับเขตสถานที่ดังกล่าว บริเวณประตูระบายน้ำ ฝาย หรือทำนบ) ห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพของที่จับสัตว์น้ำหรือปลูกสร้างสิ่งใดหรือปลูกพืชพันธุ์ไม้ใดๆ ลงในที่จับสัตว์น้ำ ห้ามใช้วัตถุระเบิดหรือห้ามก่อภาวะมลพิษในแหล่งน้ำ เป็นต้น

15. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512, 2522 และ 2535เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการการสร้างโรงงานและการจัดการโรงงาน เพื่อลดการส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อแหล่งท่องเที่ยว และในบริเวณใกล้เคียงแหล่งท่องเที่ยวโรงงานสุรา..............................................................

16. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบของชานเมือง พ.ศ.2535เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสะอาดในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพฯ พัทยา และเทศบาลซึ่งพื้นที่ต่างๆ เหล่านี้อาจรวมถึงบริเวณแหล่งท่องเที่ยวด้วย17. พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518, 2525 และ 2535 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522, 2535 และ 2543-เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคารบริเวณแหล่งท่องเที่ยว การจัดการด้านผังเมือง การกำหนดเขตต่างๆในแหล่งท่องเที่ยว

บทที่ 9 ธุรกิจอื่นๆและองค์ประกอบเสริมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

นอกจากธุรกิจหลักซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวแล้วยังมีธุรกิจอื่นๆดำนินการเพื่อตอบสนองความต้องการบริการด้านต่าง ๆ แก่ นักท่องเที่ยวเช่น การบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม สถานบันเทิง ร้านขายของที่ระลึก ศุนย์ข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวและอื่น ๆธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่มเราสามารถแบ่งประเภทของธุรกิจอาหารการบริการและเครื่องดื่มได้เป็น 7 ประเภทใหญ่ๆดังนี้
1. ธุรกิจอาหารจานด่วนเป็นธุรกิจอาหารที่กำลังได้รับความนิยมและขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ลูกค้าสามารถเลือกที่จะนั่งรับประทานในร้านหรือซื้อออกไปก็ได้และราคาอาหารค่อนข้างต่ำ ร้านอาหารจานด่วนมีการดำเนินการในรูปแบบของการรับสิทธิ
2. ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปเดลี่เป็นธุรกิจที่ผสมผสานการให้บริการอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง เนย แซนวิช สลัด และอาหารสำเร็จรูป ประเภทอื่นๆ ปัจจุบันร้านอาหารประเภทนี้นิยมมาก
3. ธุรกิจอาหารบุฟเฟ่ต์เป็นธุรกิจอาหารแบบบริการตนเอง ซึ่งปกติจะบริการเครื่องดื่มและจะให้บริการที่โต๊ะลูกค้าโดยตรง ทุกอย่างคุณสามารถกินได้ และตั้งราคาเดียวและราคาไม่สูงมากนัก
4. ธุรกิจค๊อฟฟี่ช๊อพเน้นการบริการอาหารแบบรวดเร็ว ลูกค้าหมุนเวียนเข้าไปมารับประทานอาหารโดยใช้เวลาน้อย ไม่เน้นความหรูหราและราคาค่อนข้างต่ำร้านอาหารประเภทนี้ส่วนใหญ่จะขายดีที่สุดช่วงอาหารเที่ยงรือช่วงกาแฟบ่าย5. ธุรกิจคาเฟทีเรียเป็นธุรกิจอาหารแบบบริการตนเอง โดยส่วนใหญ่ราการอาหารจะค่อยข้างจำกัดกว่าภัตตาคารทั่วๆ ไป จำนวนมากที่ต้องการความรวดเร็วในช่วงธุรกิจหนาแน่น ดังนั้นการฝึกฝนให้พนักงานบริการอย่างรวดเร็วจึงค่อนข้างจำเป็น
6. ธุรกิจอาหารกูร์เมต์เป็นธุรกิจที่เน้นการให้บริการในระดับสูง ทั้งในด้านคุณภาพอาหาร โดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการมาตรฐานการบริการในระดับสูง และพร้อมจ่ายเงินเพื่อซื้อการบริการที่พึงพอใจ จึงทำให้ต้องลงทุนสูงกว่าภัตตาคารหรือร้านอาหารประเภทอื่นๆเพื่อชื่อเสียงของร้านและดึงดูดลูกค้าให้กลับมาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ
7. ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติเป็นธุรกิจที่ให้บริการอาหารเฉพาะรายการอาหารประจำท้องถิ่นหรือประจำชาติ พนักงานเน้นลักษณะประจำชาติหรือลักษณะท้องถิ่นนั้นๆ

อาหารไทย
อาหารไทยถือเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงไปทั่วโลกอาจเป็นเพราะรสชาติที่กลมกล่อมและความสวยงามประณีตเป็นที่แน่นอนว่าเมื่อนักท่องเที่ยวเมืองไทยส่วนใหญ่ก็มักต้องการลิ้มรสอาหารไทยแบบดั่งเดิมดูสักครั้ง

อาหารไทยภาคเหนือ
ภูมิประเทศทางภาคเหนือของไทยอุดมไปด้วยป่าไม้และภูเขาสูงแวดล้อมไปด้วยพืชพรรณธรรมชาตินานาชนิด ภาคเหนือยังมีคนไทยภูเขาหลายเผ่าอาศัยอยู่จึงมีความหลากหลายทางวัมนธรรม และยังคงใกล้ชิดธรรมชาติอยู่มาก ซึ่งผลให้อาหารทางเหนือยังใช้พืชตามป่าเขาและพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในการปรุงอาหารเป็นส่วนใหญ่ การรับประทานอาหารแบบขัยโตก อาหารทางภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาลเพราะความหวานจะมาจากผัก เช่นการนำผักมาผัดหรือต้มให้นุ่มก่อนรับประทาน เช่นแคปหมูใช้รับประทานคู่กับขนมจีนน้ำเงี้ยวก่อนรับประทาน

อาหารไทยภาคใต้
ภูมิประเทศของภาคใต้เป็นคาบสมุทรที่ยื่นลงไปในทะเล อาชีพของชาวใต้ก็คือชาวประมงอาหารหลักจึงเป็นอาหารทะเล จำพวกกุ้ง หอย ปู ปลา จะมีกลิ่นคาวจัดใช้เครื่องเทศและขมิ้นเพื่อดับกลิ่นคาว อาหารใต้หลายชนิดที่นิยมรับประทานกับผักเพื่อลดความเผ็ดร้อน ข้าวยำปักษ์ใต้ แกงไตปลา แกงเหลือง เป็นต้น

อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตั่งอยู่บนพื้นที่ที่ราบสูง กักเก็บน้ำได้ไม่ดีจึงแห้งแล้งในหน้าร้อน นิยมบริโภคเนื้อสัตว์เหล่านี้ โดยทั่วไปคนอีสานชอบอาหารรสเค็ม เผ็ด เปรี้ยว จึงมีการถนอมอาหาร เช่นปลาร้า เนื้อเค็ม ไส้กรอกหมู เป็นต้นการดำเนินงานด้านธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มปัจจุบันผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มนิยมหันไปทำธุรกิจในลักษณะที่เป็นกลุ่มธุรกิจหรือตามที่ วินิจ วีรยางกูรได้สรุปไว้ดังนี้1) มีการจำกัดประเภทอาหารให้แคบลง2) ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ3) มีการฝึกพนักงานอย่างดี ทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพสูง4) ภาชนะที่ใส่อาหารส่วนใหญ่เป็นประเภทรับประทานแล้วทิ้งเลย5) มีอาหารน้อยชนิด การปรุงอาหารไม่ซับซ้อน

ลักษณะอาหารที่โรงแรมจัดไว้ส่วนใหญ่มักเป็นอาหารตะวันตก
1) อาหารเช้า คืออาหารที่รับประทานตั้งแต่8.00-9.00เป็นเป็น2ประเภทคือ
1.1อาหารเช้าแบบยุโรป เป็นอาหารเช้าที่ประกอบไปด้วยน้ำผลไม้ ขนมปัง แยม หรือเนยหรือกาแฟเท่านั้น
1.2อาหารเช้าแบบอเมริกัน ประกอบด้วยน้ำผลไม้ คอร์นแฟลก ขนมปัง ไข่ดาว แฮม เบคอน แล้วตามด้วยชา กาแฟ2) อาหารก่อนกลางวัน คือรับประทานช่วงเวลาระหว่างอาหารเช้ากับมื้อเที่ยงตั่งแต่9.30-11.30
3) อาหารกลางวัน Lunch or Luncheon รับประทานในช่วง 11.30-14.00 น.เป็นอาหารที่ไม่หนักจนเกินไป ใช้เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย เช่น ปลา หมู ผักต่างๆ อาจเป็นแบบ A La Carte คือรายการที่ลูกค้าสามารถสั่งได้ตามใจชอบจากรายการที่มี หรือ Table d ’Hotel คือแบบรายการอาหารชุด แบ่งเป็น
-อาหารจานเดียว (One Course)
-อาหารกลางวันประเภทสองจาน (Two Courses)
-อาหารกลางวันประเภทสามจาน (Three Courses)
-อาหารกลางวันแบบบุฟเฟต์ (Buffet Lunch)
4) อาหารว่างหรืออาหารน้ำชา (Afternoon Tea)ปกติรับประทานเวลา 15.00-17.00 น. ชากาแฟ เค้ก หรือ ผลไม้
5) อาหารเย็น ( Dinner)เริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นอาหารมื้อที่หนักที่สุดของวัน ประกอบด้วยอาหารชุดต่าง ๆ ดังนี้
-อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer)
-ซุป (Soup)
-อาหารนำจานหลัก (Entrees) ประเภทอาหารทะเล
-อาหารหลัก (Main Course) ได้แก่อาหารประเภท เนื้อสัตว์ แป้ง
-ของหวาน (Dessert)-ชาหรือกาแฟ (Tea or Coffee)
6) อาหารมื้อดึก (Supper)เป็นอาหารเบาๆ ซึ่งรับประทานหลังมื้อเย็นหรือหลังอาหารหนัก

การจัดการและการตลาด (Management and Marketing)
เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจอื่นๆ ประกอบกับภาวการณ์แข่งขันมีค่อนข้างสูง ตลาดและส่วนผสมทางการตลาดในทุกๆ ด้านดังนี้
1. ด้านผลิตภัณฑ์ (product) ต้องมุ่งเน้นที่คุณภาพของอาหารและบริการ ต้องมีคุณค่าทางโภชนาการและถูกหลักอนามัย
2. ด้านราคา (price) ต้องเป็นราคาที่เหมาะสมกับชนิดและประเภทของอาหาร โดยต้องคำนึงถึงคุณภาพ ต้นทุน การให้บริการ ต้องหมั่นสำรวจตลาด และคู่แข่งเสมอ
3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (place) ต้องรู้ว่าจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ด้วยวิธีใด อาทิสถานที่ตั้ง บริการส่งถึงที่ เป็นต้น
4. การส่งเสริมการขาย (promotion)ควรเลือกสื่อและโฆษณาที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด รวมทั้งการประสานงานกับบริษัทนำเที่ยว หรืออาจมีการรวมกลุ่มเป็นสมาคม อาทิ สมาคมภัตตาคาร (restaurant association)

ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและสินค้าที่ระลึกShopping and Souvenir Business
ธุรกิจจำหน่ายสินค้า คือ การประกอบธุรกิจขายปลีก เพื่อจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างหรือหลายอย่างแก่ผู้บริโภค ซึ่งหมายถึงบุคคลทั่วไปรวมถึงนักท่องเที่ยวประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการ
1.ห้างสรรพสินค้า ( Department Store)
หมายถึงกิจการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมสินค้าหลายอย่างเข้ามาไว้ภายในบริเวณเดียวกัน โดยแยกตามแผนก เพื่อเป็นการประหยัดเวลาของลูกค้าห้างสรรพสินค้ายังมีบทบาทสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ และได้ทำให้หลายๆ ประเทศพยายามพัฒนาภาพลักษณ์ให้เป็นสวรรค์ของการซื้อสินค้า
2.ศูนย์การค้า (Shopping Centers/Malls) คือการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมร้านขายปลีกรวมทั้งห้างสรรพสินค้าเข้ามาอยู่ในอาคารเดียวกัน ตลอดจนบริการที่จอดรถตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ อาทิ โรงภาพยนตร์ ธนาคาร ภัตตาคารร้านค้าปลอดอากร (Duty-free shop)
3.ร้านปลอดภาษี (Tax-free shop) เป็นร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเท่านั้น โดยสินค้าในร้านปลอดอากรนั้น มักเป็นสินค้าปลอดอากรที่นำเข้าจากต่างประเทศราคาสูงความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้าI. เป็นแหล่งกระจายสินค้าภายในประเทศออกไปยังต่างประเทศ ทั้งยังเป็นการช่วยเผยแพร่ชื่อเสียง หรือโฆษณาแหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น ผ้าไหม......... น้ำหอม............ นาฬิกา........-

กิจกรรมการซื้อสินค้าเป็นการสร้างความเพลิดเพลินให้แก่นักท่องเที่ยว
- ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมท้องถิ่น
- ก่อให้เกิดการจ้างงานของคนในท้องถิ่นธุรกิจสินค้าที่ระลึกคือ การประกอบธุรกิจและจำหน่ายสินค้าที่นักท่องเที่ยวซื้อและนำกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมของตน เพื่อเป็นของระลึก ของฝาก หรือแม้แต่เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน สินค้าที่ระลึกมักถูกพัฒนาจากศิลปหัตถกรรมของแต่ละท้องถิ่น ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ ความเป็นอยู่ โดยใช้วัสดุของท้องถิ่นในการผลิตและใช้แรงงานภายในท้องถิ่นลักษณะสำคัญของสินค้าที่ระลึก
ก. เป็นสินค้าที่หายากและราคาแพง มีแหล่งผลิตเฉพาะที่
ข. เป็นสินค้าที่มีราคาถูกกว่าภูมิลำเนาของนักท่องเที่ยว
ค. เป็นสินค้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์แปลกและมีประโยชน์ใช้สอย
ง. เป็นสินค้าที่มีรูปร่าง ขนาด น้ำหนัก เหมาะสมต่อการขนส่ง ไม่เปราะบางหรือชำรุดง่าย
จ. เป็นสินค้าที่ใช้วัสดุและแรงงานในท้องถิ่น เป็นสินค้าที่นำวัสดุเหลือใช้ไร้ค่ามาแปรรูป
ฉ. เป็นสินค้าที่มีการแสดงขั้นตอนการผลิตให้นักท่องเที่ยวเห็นหรือทดลองทำ
ช. เป็นสินค้าที่ควรหาซื้อได้
ซ. เป็นสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นๆ

เมื่อเอ่ยถึงทุกคนสามารถเดาที่มาได้แบ่งตามคุณค่าแห่งการนำไปใช้
- ประเภทบริโภค
- ประเภทประดับตกแต่ง- ประเภทใช้สอย
- ประเภทวัตถุทางศิลปะความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึกทางสังคมและวัฒนธรรม
-สร้างอาชีพใหม่ๆ ให้กับคนในสังคม และการใช้เวลาว่างของประชาชนให้เกิดคุณประโยชน์
-ลดปัญหาสังคม และลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน
-การรู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
-สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศ-สร้างชื่อเสียงหรือเอกลักษณ์ของประเทศไปสู่โลกทางระบบการท่องเที่ยว
-ทำให้เกิดความสมบูรณ์ทางการท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มความสุนทรีย์ ในการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการกลับมาเที่ยวอีกครั้งหนึ่ง
-ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความภูมิใจ หรือเป็นการสร้างการยอมรับทางสังคม เป็นการแสดงออกถึงฐานะทางเศรษฐกิจ

ธุรกิจนันทนาการ (Recreation Business)
หมายถึง การประกอบธุรกิจการให้บริการเพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลินสำหรับคนเดินทางหรือนักท่องเที่ยวธุรกิจนันทนาการประกอบด้วยธุรกิจสวนสนุก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
-สวนสนุก (Amusement Park) เป็นสถานที่ที่สร้างเพื่อให้บริการด้านความบันเทิง สนุกสนานเพลิดเพลิน ประกอบด้วย เครื่องเล่นเกม การละเล่นต่างๆ ของคนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว
-สวนสนุกรูปแบบเฉพาะ (Theme Park) เป็นสวนสนุกที่มีสิ่งดึงดูดใจและมีแนวคิดทางการตลาดที่มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจนธุรกิจบันเทิง เพื่อการท่องเที่ยว หมายถึง สถานบันเทิงยามค่ำคืนและการจัดการแสดงบนเวที (Performing art)ธุรกิจการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยวธุรกิจกีฬาปกติ เป็นการจัดให้บริการสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเล่นกีฬาได้ตามแหล่งท่องเที่ยวธุรกิจกีฬาตามเทศกาล เป็นการประกอบธุรกิจการจัดแข่งขันกีฬาตามเทศกาล

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 8 ผลกระทบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ
ด้านบวก

1.ช่วยให้เกิดรายได้แก่ท้องถิ่นภภายประเทศ
2.ช่วยทำให้เกิดรายได้ต่อรัฐบาล
3.ช่วยให้เกิดการจ้างงาน
4.ช่วยให้เกิดอาชีพใหม่
5.ช่วยให้เกิดรายรับเงินตราต่างประเทศ
6.ช่วยให้เกอดภาวะดุลชำระเงิน

ด้านลบ
1.ค่าครองชีพของคนไทยในพื้นที่สูงขึ้น
2.ราคาที่ดินแพงขึ้น
3.มีค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ เครื่องดื่มแอลกอออล์ ผลไม้ อาหาร
4.ทำให้สูญเสียรายได้นอกประเทศ
5.รายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆเป็นไปตามฤดูกาล

ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคม
ด้านบวก

1.เป็นการพักผ่อนหย่อนใจลดความตรึงเครียดจากการทำงาน
2.ช่วยให้เกิดสัติภาพแห่งมวลมนุษย์
3.ช่วยให้ประชาชนได้เห็นถึงศิลปวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
4.มาตราฐานการครองชีพดีขึ้น
5.คนในท้องถิ่นได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น
6.ช่วยเสริมอาชีพให้คนในท้องถิ่น
7.ช่วยให้สภาพแวดล้อมของท้องถิ่นดีขึ้น
8.การเดินทางท่องเที่ยวจะทำให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์
9.การท่องเที่ยวจะลดปัญหาการอพยพเข้าไปหางานทำในเมืองหลวง

ด้านลบ
1.ความรู้สึกไม่ดีต่อคนในท้องถิ่นจากนักท่องเที่ยว
2.การมีค่านิยมผิดๆ
3.โครสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลงเมื่อท้องถิ่นกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว
4.การลบเลือนของอาชีพดั้งเดิมของท้องถิ่น
5.ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม
6.ปัญหาโสเภณีและเพศพาณิชย์
7.ปัญหาบิดเบือนการเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว
8.ปํยหาความไม่เข้าใจกันและความขัดแย้งกันระหว่างคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว
9.ช่วยให้เกิดการก่อสร้างดึงดุดใจด้านการพักผ่อนในพื้นที่
10.ปัญหาต่างๆเช่น ปัญหายาเสพติด

ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม
ด้านบวก
1.เกิดงานเทศกาลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
2.มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและนักท่องเที่ยวนิยมมากขึ้น
3.ช่วยเผยแพร่เอกลักษณ์ประเทศ
4.ผลกระทบอื่นๆ เช่นการเกิดความเชื่อถือของชาวบ้าน

ด้านลบ
1.คุฯค่าของงานศิลปะลดลง
2.วัฒนธรรมประเพณีถูกเสนอขายในรูปแบบของสินค้า
3.วัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวมีบทบาทในการรับวัมนธรรมใหม่
4.เกิดการตระหนักทางวัฒนธรรม
5.การยอมรับพฤติกรรมและเลียนแบบพฤติกรรมนั้นๆ

สรุป
เมื่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวขยายตัวขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือผลกระทบดังกล่าวข้างต้น ผลกระทบดังกล่าวมีผลทำให้การท่องเที่ยวเป็นไปในลักษณะที่ไม่ยั่งยืน การที่ทำให้การท่องเที่ยวอยู่ต่อไปได้นานๆ ชั่วลูกชั่วหลาน คำพูดที่ว่า ใช้ไปด้วยและรักษาไปด้วย และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

บทที่ 7 ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว

แทร้นวล เอเจนซี่ (Traval agency)
ผู้เชี่ยวชาญทางอุคสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ความหมาย ดังนี้ ธุรกิจขายปลีกที่ได้รับอนุญาติให้ขายผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวแทนผู้ประกอบธุรกิจ เช่น สายการบิน สายการเดินเรือ บริษัทรถไฟ หรือที่พักแรม

ความเป็นมา
ในอดีตผู้ที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวจะต้องติดต่อซื้อสินค้าทางการท่องเที่ยวโดยตรง ต่อมาจึงเกิดธุรกิจค้าปลีกที่อำนวยความสะดวกเกิดขึ้น โดย โทมัส คุก (Thomas Cook)ได้เปิดแทรเวล เอเจนซี่ในครั้งแรกใน พ.ศ 2388 ณ ประเทศอังกฤษ จึงทำให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าการท่องเที่ยวโดยไม่ต้องเดินทางไปซื้อโดยผู้ประกอบธุรกิจ แทรเวล เอเจนซี่จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางและท่องเที่ยวตั้งแต่นั้นมา

บทบาทหน้าที่ของแทรเวล เอเจนซี่
1.จัดหาราคาอัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว
2.ทำการจอง
3.รับชำระเงิน
4.ทำการส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง
5.ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ
6.ช่วยดำเนินการในการซื้อบัตรโดยสาร
7.ออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ

ประโยชน์ของการใช้บริการแทรเวล เอเจนซี่
1.มีความชำนาญในการหาข้อมูลและวางแผนในการท่องเที่ยว
2.สามารถหาข้อเสนอหรือราคาที่ดีที่สุด
3.ช่วยประหยัดเวลาและความลำบาก
4.แก้ปัญหาได้เมื่อเกิดข้อผิดพลาดหรือปัญหา
5.รู้จักแหล่งประกอบธุรกิจมากกว่า
6.รู้จักแหล่งท่องเที่ยวดีกว่า

ประเภทของแทรเวล เอเจนซี่
1.แบบที่มาแต่เดิม
2.แบบที่ขายทางอินเตอร์เน็ต
3.แบบที่ชำนาญเฉพาะทาง
4.แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก

บริษัททัวร์ หมายถึง ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่จัดทำดปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายโดยขายให้กับลูกค้าผ่าน แทรเวล เอเจนซี่
ทัวร์ หมายถึง รูปแบบการท่องเที่ยวที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า

ประโยชน์ของการใช้บริษัททัวร์
1.ประหยัดเวลาและค่าใชจ่าย
2.ประหยัดค่าใช้จ่าย
3.ได้ความรู้
4.ได้เพื่อนใหม่
5.ได้ความสบายใจและรู้สึกปลอดภัย
6.ไม่มีทางเลือกอื่น

ประเภทของทัวร์

1.ทัวร์แบบอิสระ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางแบบอิสระ
2.ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว โปรแกรมเหมาจ่ายที่ได้รับการบริการจากตัวแทนของบริษัท
3.ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว โปรแกรมเหมาจ่ายที่รวมการบริการของมัคคุเทศก์ตลอดเส้นทาง

บทที่ 6 ที่พักแรม

ที่พักแรมมีบทบาทโดยตรงในการสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยว เนื่องจากนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางที่ห่างไกล และจำเป็นต้องค้างแรมพักผ่อนระหว่างการเดินทาง

ความเป็นมา
โรงแรมเป็นประเภทธุรกิจที่พักแรมที่สำคัญในปัจจุบัน คำเรียกที่พักว่า hotel นี้เดิมมาจากภาษาฝรั่งเศษและมาปรากฏใช้เรียกธุรกิจประกอบการที่พักดรงแรมในอังกฤษและอเมริกา ศตวรรษที่ 18 รูปแบบบริการในโรงแรมได้รับความนิยมมาแต่อดีตจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะและเป็นที่รู้จักทั่วไปของนักท่องเที่ยว

ธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทย
กิจการโฮเต็ลหรือโรงแรมที่สำคัญในอดีตได้แก่
-โฮเต็ลหัวหิน
-โฮเต็ลวังพญาไท
-โรงแรมรัตนะโกสินทร์

ปัจจัยพื้นฐานในการบริการที่พักโรงแรม
-ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน
-ความสะอาดและสุขอนามัยในสถานที่พัก อาหาร-เครื่องดื่ม
-ความสะดวกสบายจากการบริการ
-ความเป็นส่วนตัว
-บรรยากาศการตกแต่งที่สวยงาม
-ภาพลักษณ์ของกิจการและอื่นๆ

ประเภทที่พักแรม
1.โรงแรม
1.1เกณฑ์การจำแนกประเภทโรงแรม
-ด้านที่ตั้ง
-ด้านขนาด
-ด้านจุดประสงค์ของผู้มาพัก
-ด้านราคา
-ด้านระดับการบริการ
-ด้านการจัดระดับมาตราฐานโดยใช้สัญญาลักษณ์
-ด้านความเป็นเจ้าของและรูปแบบการบริหาร
โรงแรมอิสระ เป็นโรงแรมที่เจ้าจองกิจการดำเนินการเอง นโยบายและคิดวิธีการกำหนดขึ้นเองอย่างอิสระ
โรงแรมจัดการแบบกลุ่ม โรมแรมที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการแบบกลุ่ม

2.ที่พักนักท่องเที่ยว
-บ้านพักเยาวชนหรือโฮเทล
-ที่พักพร้อมอาหารเช้าราคาประหยัด
-ที่พักริมทางหลวงได้แก่โมเต็ล
-ที่พักแบบจัดสรรเวลาแบบไทม์แชริ่ง
-เกสต์เฮ้าส์
-อาคารชุดบริการที่พักระยะยาวหรือเซอร์วิสอพาร์ทเม้นต์
-ที่พักกลางแจ้ง
-โฮมสเตย์

แผนกงานในโรงแรม
-แผนกงานส่วนหน้า
-แผนกงานแม่บ้าน
-แผนกอาหารและเครื่องดื่ม
-แผนกขายและการตลาด
-แผนกบัญชีและการเงิน
-แผนกทรัพยากรมนุษย์

รูปแบบการจัดห้องมาตราฐานโรงแรมทั่วไป

-Single ห้องพักแบบนอนคนเดียว
-Twin ห้องพักแบบเตียงคู่แฝด
-Double ห้องพักแบบเตียงคูขนาดใหญ๋เตียงเดียว
-Suit ห้องชุดที่ภายในประกอบด้วยห้อง 2 ห้องขึ้นไปกั้นเป็นสัดส่วนแบ่งเป็นห้องนอนและห้องนั่งเล่น

บทที่ 5 การคมนาคมข่นส่ง

พัฒนาการข่นส่งทางบก
เริ่มในสมัย 200 ปีก่อน คริสตกาล หรือยุคบาบิลอน ซึ่งใช้คนลากรถสองล้อไปบนถนน ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นสัตว์ เช่น วัว ม้า ลา มาช่วยลากรถสองล้อในยุคอียิปต์และกรีก ในศตวรราที่ 18 ได้มีการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ และได้ผลิตรถไฟไอน้ำในประเทศอังกฤษขบวนแรกขึ้นในปี ค.ศ 1825 ต่อมาเนื่องจากความนิยมรถไฟน้อยลงจึงได้มีการประดิษฐ์คิดค้น รถยนต์เป็นพาหนะสำคัญแทนที่รถไฟในปี ค.ศ 1920

พํฒนาการข่นส่งทางน้ำ
การข่นส่งทางน้ำเป็นการขนส่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก จนกระทั่งใน พ.ศ 1819 มีเรือที่สามารถเดินข้ามในมหาสมุทรครั้งแรกได้คือ เรือกลไฟ เป็นเรือที่เล่นระหว่างเมือง savana รัฐจอร์เจียกับเมือง Liverpool ใช้เวลา 29 วัน แต่เป็นเรือข่นส่งหีบห่อพัสดุภัณฑ์ทางไปราณีย์เป็นหลักมีผู้โดยสารไม่มากนัก

พัฒนาการขนส่งทางอากาศ
เที่ยวบินให้บริการขนส่งผู้โดยสารให้บริการครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการบริการเที่ยวบินโดยสารประจำทาง โดยบินระหว่าง Boston และ Newyork ใน ค.ศ 1935 ในปี พ.ศ 2544 รัฐบาลเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในธุรกิจการบินภายในประเทศ เช่นแอร์อันดามัน ภูเก็ตแอร์ และโอเรียนไทย

ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เครื่องบินได้ถ฿กดัดแปลงให้เป็นพาหนะของทหารเร่งการพัฒนาขีดความสามารถของเครื่องยนต์ไห้มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ละประเทศได้เร่งแข่งขันกันที่จะนำเครื่องบินที่จะได้รับการปรับปรุงและพัฒนาแล้วมาใช้ในเชิงพานิชณ์

ประเภทของธุรกิจการคมนาคมขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว
1.ธุรกิจการข่นส่งทางบก
-การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถไฟ
-การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถยนต์ส่วนบุคคล
-การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถเช่า
-รกิจการเช่ารถ
รถโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว
-รถโดยสารประจำทาง การบริการจุดจุดหนึ่งไปอีกจุดจุดหนึ่งตามตาราง
-รถโดยสารไม่ประจำทางหรือรถเช่าเหมา เดินทางสะดวกสบายและประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่าย

2.ธุรกิจการขนส่งทางน้ำ
การเดินเรือท่องเที่ยวทางน้ำแบ่งออกเป็นหลายประเภทดังนี้
-เรือเดินทะเล เป็นเรือคมนาคมจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง
-เรือสำราญ คล้ายโรงแรมลอยน้ำมีความสะดวกสะบายครบครัน
-เรือข้ามฟาก เป็นเรือสำหรับการเดินทางระยะสั้น ใช้บรรทุกทั้ง ผูโดยสาร รถยนต์ รถโดยสาร หรือบางครั้งรถไฟ
-เรือใบและเรือยอร์ช ในอดีตจะมีเพียงผูมีฐานะร่ำรวยเท่านั้นที่สามารถซื้อได้ ปัจจุบันผู้ที่มีฐานะปานกลางสามารถเช่าเรือสำหรับท่องเที่ยวได้
-เรือบรรทุกสินค้า นักท่องเที่ยวบางกลุ่มชอบเดินทางกับเรือบรรทุกสินค้าที่ไม่เร่งรีบและจอดตามเมืองต่างๆ ทั่วโลก โดยเรือบรรทุกสินค้าสามารถรับผู้โดยสารได้ 12 คนโดยมีห้องพักสะดวกสะบายแต่มีราคาถูกกว่าเรือสำราญ

3.ธุรกิจการขนส่งทางอากาศ
สงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อให้เกิดผลดีในระยะยาวต่อการเติบโตของธุรกิจการบินพาณิชย์
การเดินทางท่องเที่ยวแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่คือ
3.1การบินลักษณะเที่ยวบินประจำภายในประเทศ เป็นการบินระหว่างเมืองต่อเมืองมีตารางบินที่แน่นอน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยคือ
-เที่ยวบินประจำภายในประเทศ
-เที่ยวบินประจำระหว่างประเทศ
3.2การบินลักษณะเที่ยวบินไม่ประจำ เป็นการบินที่จัดเสริมในตาราง
3.3การบินลักษณะเช่าเหมาลำ เป็นการบินที่ให้บริการกลุ่มสามชิกหรือองค์การ หรือกลุ่มนักท่องเที่ยว รับ ส่งผู้โดยสารเฉพาะกลุ่มเดิมได้เท่านั้น ราคาค่าดดยสารจะถูกกว่าปกติ




วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 4 องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว





ธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ


ธุรกิจที่จัดว่าเป็นองค์ประกอบหลัก และธุรกิจที่จัดว่าเป็นองค์ประกอบเสริมดังที่ได้กล่าวไปในบทที่ 1 แล้วในบทนี้จะศึกษาเรื่องขององค์ประกอบหลักประเภทแรกคือ แหล่งท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยว
คำจำกัดความ 3 คำที่จำเป็นในการศึกษาแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่

1.ทรัพยากรการท่องเที่ยว
2.จุดหมายปลายทาง
3.สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว



จากความหมายของทั้ง 3 คำข้างต้น อาจสรุปความหมายของแหล่งท่องเที่ยวได้ว่า คือ สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเที่ยวหรือประกอบกิจกรรมต่างๆเพื่อสนองตอบต่อจุดประสงค์ด้านความพึงพอใจ หรือด้านนันทนาการ





ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว จัดแบ่งได้ด้วยลักษณะเฉพาะต่างๆได้แก่

-ขอบเขต อาจแบ่งจุดมุ่งหมายหลักได้ 2 แบบ คือ จุดมุ่งหมายหลักกับจุดมุ่งหมายรอ

-ความเป็นเจ้าของ แหล่งท่องเที่ยวทั้งธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น

-ความคงทนถาวร การแบ่งอายุของแหล่งท่องเที่ยว-ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งจะสนองความต้องการ หรือจุดประสงค์ของนักท่องเที่ยวต่างกัน


การท่องเที่ยวในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่

1.แหล่งท่องเที่ยวเป็นธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวที่เกิดขึนเองตามธรรมชาติทั้งด้านชีวภาพและกายภาพ

2.แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น สถานที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างและอายุ

3.แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่พัฒนามาจากวัฒนธรรมประเพณี การดำรงชีวิตของผู้คน



แหล่งท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย


-ภาคกลาง ประกอบด้วย 21จังหวัด และเขตการปกครองพิเศษ

-ภาคเหนือ ประกอบด้วย 17 จังหวัด

-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 19 จังหวัด

-ภาคตะวันออก ประกอบด้วย 4 จังหวัด

-ภาคใต้ ประกอบด้วย 14 จังหวัด














วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยว






แรงจูงใจ
แรงจูงใจเป็นตัวกำหนดบุคลิกตภาพของบุคคล แรงจูงใจด้านการท่องเที่ยว หรือแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวเป็นแนวคิดที่เป็นแบบลูกผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิทยา ผสมกับแนวคิดทางด้านสังคมวิทยา แรงจูงใจจึงหมายถึงเครือข่าย(Network)ทั้งหมดของพลังทางวัฒนธรรมและพลังชีววิทยา ซึ่งเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการท่องเที่ยว พลังทางสังคมน่าจะเป็นความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของโลก การท่องเที่ยวไปในดินแดนที่เพิ่งเปิดตัวต่อโลกภายนอกกำลังเป็นสมัยนิยมอย่างหนึ่งของคนวัยหนุ่มสาวในปัจจุบัน

ทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1.ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น(Hierarchy of needs)
Maslow กล่าวว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการ และจะแสดงพฤติกรรมต่างๆ เพื่อที่จะสนองความต้องการ ความต้องการของมนุษย์ไม่มีวันจบสิ้นเมื่อความต้องการอย่างหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการอีกอย่างหนึ่งมาแทนที่ Maslow ได้เสนอลำดับขั้นการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งหลาย 5 ขั้น
1.1ความต้องการความสำเร็จแห่งตน
1.2ความต้องการที่จะมีเกียรติยศชื่อเสียง
1.3ความต้องการทางด้านสังคม
1.4ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต
1.5ความต้องการทางด้านสรีรวิทยา

2.ทฤษฎีขั้นบันได้แห่งการเดินทาง(Traval Career Ladder)
ผู้นำเสนอทฤษฎีนี้คือ Philip Pearce ความต้องการทางด้านการท่องเที่ยวมีการพัฒนาเป็นลำดับขั้นเช่นเดียวกับทฤษฎีของ Maslow ความต้องการจะเริ่งมีความลึกลับซับซ้อนมากขึ้นเมื่อนักเดินทางมีประสบการณ์มากขึ้น
ขั้นบันไดแห่งการเดินทาง
1.ความต้องการสูงสุด คือ ความต้องการความสำเร็จแห่งตน และความต้องการที่จะได้รับประสบการณ์อันหลากหลาย
2.ความต้องการความภาคภูมิใจและพัฒนาตนเอง คือ ความต้องการที่จะพัฒนาทักษะของตนเอง
3.ความต้องการสร้างสัมพันธภาพ คือ ความต้องการที่จะไห้ความเป็นมิตรและความรักแก่ผู้อื่น
4.ความต้องการความปลอดภัยมั่นคง คือ ความต้องการที่จะดำรงชีวิตอย่างมั่นคง และมีความปลอดภัย
5.ความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจสูงสุด คือ ความต้องการลิ้มรสความหิวกระหาย ความต้องการทางเพศและการผ่อนคลาย

3.แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น(Hidden Agenda)ของ Compton
แรงจูงใจวาระซ่อนเร้นมี 7 ประเภทดังนี้

1.การหลีกหนีสถานภาพที่จำเจ
2.การสำรวจและการประเมินตนเอง
3.การพักผ่อน
4.ความต้องการเกียรติภูมิ
5.ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม
6.กระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
7.การเสริมสร้างการปะทะสังสรรค์ทางสังคม

4.แรงจูงใจในทางการท่องเที่ยวในทัศนะของ Swarbrooke
แรงจูงใจที่สำคัญที่ทำให้คนเดินทางแบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้
แก่
1.แรงจูงใจด้านสรีระหรือกายภาพ
2.แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
3.การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง
4.การท่องเที่ยวเพื่อให้มาเพื่อสถานภาพ
5.แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง
6.แรงจูงใจส่วนบุคคล

แนวโน้มของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1.แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม
2.แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น
3.แรงจูงใจที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
4.แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว
5.แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย
6.แรงจูงใจที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ
7.แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี
8.แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย
9.แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม
10.แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง

ตัวอย่างการวิจัยที่ใช้วิธีการศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย
นักเดินทางประเภทแบกเป้ (Backpackers) นักเดินทางแบบนี้กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆในออสเตรเลีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนิวซีแลนด์ แรงจูงใจที่ทำให้เกิดการเดินทางในลักษณะนี้อาจสรุปได้เป็น 4 มิติดังนี้
1.การหลีกหนี อาจเป็นการหลีกหนีจากความรับผิดชอบหรือการหยุดที่จะเลือกการตัดสินใจ
2.การมุ่งเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการท่องเที่ยวส่วยใหญ่จะเน้นด้านสิ่งแวดล้อมและการผจญภัยเป็นหลัก
3.การทำงาน เป็นแรงจูงใจในด้านการทำงานในระหว่างการท่องเที่ยว และพัฒนาทักษะการทำงานในเวลาเดียวกัน
4.เน้นการคบหาสมาคม นักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ที่มีแรงจูงใจที่ชัดเจนคือ ความต้องการที่จะกระชับความสัมพันะกับผู้อื่น หรือแรงจูงใจทางด้านสังคมนั่นเอง


โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้แก่
1.ระบบไฟฟ้า
2.ระบบประปา
3.ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
4.ระบบการขนส่ง ประกอบไปด้วย
4.1 ระบบการเดินทางอากาศ
4.2 ระบบการเดินทางบก
4.3 ระบบการเดินทางน้ำ
5.ระบบสาธารณะสุข
ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค
1.ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
1.1 ลักษณะภูมิประเทศ
1.2 ลักษณะภูมิอากาศ
2.ปัจจัยทางวัฒนธรรม






วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 2 ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวจากยุคเริ่มต้นถึงหลังสงครามโลกครั้งที่2




อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมหมายถึง การประกอบกิจกรรมด้วยการนำปัจจัยการผลิตต่างๆ ได้แก่ เงินทุน แรงงาน วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร และการจัดการมารวมกันเพื่อผลิตสินค้า และบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่มีคุรค่าต่อมนุษย์ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หมายถึง การประกอบกิจกรรมด้วยการนำปัจจัยการผลิตต่างๆมาผลิตบริการอย่างใดอย่างหนึ่งด้านการท่องเที่ยว ที่ก่อให้เกิดความสะดวกสะบายหรือความพึงพอใจ และขายบริการด้านการท่องเที่ยวนั้นให้แก่ผู้เยี่ยมเยือน สินค้าของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่นอย่างไร
1.เป็นสินค้าที่จับต้องไม่ได้
2.เป็นสินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนที่ไปหาผู้บริโภค
3.เป็นสินค้าที่ไม่สูญหาย
4.เป็นสินค้าที่เปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนกรรมสิทธิ์ก็ได้

สินค้าที่จับต้องไม่ได้ สินค้าของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวคือการให้ บริการ ผู้บริโภคหรือผู้มาเยือนไม่สามารถจับต้องหรือสัมผัสได้ ผู้มาเยี่ยมเยือนเพียงแต่ได้รับความพึงพอใจจากสิ่งที่เห็นหรือสิ่งที่ได้รับเท่านั้น สินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนที่ไปหาผู้บริโภค ผู้บริโภคต้องเดินทางไปซื้อสินค้าและบริการ ณ สถานที่ผลิตนั่นเอง ซึ่งหมายถึงสถานที่ที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวต่างๆ สินค้าไม่มีวันสูญหาย เป็นสินค้าและบริการที่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีกหลายครั้ง ในบางครั้งต้องดูแลรักษาและบำรุงให้คงอยู่ในสภาพที่ดีและเสียหายน้อยที่สุด องค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวได้ออกเป็น
-องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว (องค์ประกอบหลัก)
-องค์ประกอบที่สนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยว (องค์ประกอบเสริม)

องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว
1.สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
2.ธุรกิจการคมนาคมขนส่ง
3.ธุรกิจที่พักแรม
4.ธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร
5.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์

องค์ประกอบที่สนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยว
1.ธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
2.ธุรกิจ MICE
3.การบริการข่าวสารข้อมูล
4.การอำนวยความสะดวกทางด้านความปลอดภัย
5.การอำนวยความสะดวกในการเข้า-ออกเมือง

ความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว(ทางเศรษฐกิจ)
-เป็นแหล่งที่มาของเงินตราต่างประเทศ
-ช่วยลดปัญหาการขาดดุลระหว่างประเทศ
-ช่วยสร้างอาชีพและการจ้างงาน
-ช่วยไห้เกิดการกระจายรายได้
-ช่วยกระตุ้นให้เกิดการผลิตทางเศรษฐกิจ
ทางสังคม
-ช่วยยกมาตราฐานการครองชีพของคนในท้องถิ่น
-ช่วยสร้างสรรค์ความเจริญให้แกสังคม
ทางด้านการเมือง
-ช่วยสร้างสันติภาพและความสามัคคี
-ช่วยส่งเสริมความมั่นคงและภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศ

วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

395 ปีบันทึกปินโต

บทคัดย่อ
บันทึกความทรงจำของ แฟร์เนา เมนเดซ ปินโต เป็นเรื่องเกี่ยวกับ สภาพแวดล้อม ภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และเหตุการณ์การบ้านเมืองต่างๆ และประวัติของเขาน่าตื่นเต้น บันทึกของปิ่นโต ถูกอ้างอิงจากนักประวัติศาสตร์ไทย ตั้งแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มาจนปัจจุบัน หนังสือนี้มีสถานะเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์นิพนธ์ หรือเป็นเพียงนิยายผจญภัย

ประวัติ
ปินโตเป็นชาวเมือง มองเตอมูร์เก่าในราชอาณาจักรโปรตุเกส ปินโตเกิดในครอบครัวที่บยากจน เมื่ออายุ 10 หรือ 12 ขวบ ได้เป็นคนรับใช้ของสุภาพสตรีผู้หนึ่ง ใน ค.ศ 1523 เขาตกอยู่ในอันตรายหนีลงเรือ การผจญภัยของปินโต ก็เริ่มขึ้น เมื่อเดินทางไปถึงเมืองดิว ในอินเดียอายุ 28 ปี เขากลับมาสู่มาตุภูมิ เป็นเวลา 21 ปี ของการแสวงโชคในเอเชีย ปินโตเคยเดินทางไปเอธิโอเปีย จีน อาณาจักรอินเดียตะวันออกในน่านน้ำอินโดนีเซียปัจจุบัน ปินโตเคยเผชิญปัญหาเรืออับปาง 5 ครั้ง ถูกขาย 16 ครั้ง และถูกจับเป็นทาส 13 ครั้ง ปินโตผ่านทั้งการเป็นลูกเรือ กลา สีเรือ ทหาร พ่อค้า ฑูต และนักสอนศาสนา เมื่อกลับโปรตุเกส เขาพยายามติดต่อขอรับพระราชทานบำเหน็จ แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากพระราชสำนัก ปินโตจึงไปอยู่ที่เมือง ปากัลป์ ทางใต้ของโปรตุเกส ปินโตเขียนหนังสือ Peregrinacao ขึ้น ถูกตีพิมพ์หลังจากเขาถึงแก่กรรม ปิยโตเคยเข้าสยาม 2 ครั้ง ครั้งแรกเข้ามาที่ปัตตานี และนครศรีธรรมราช ครั้งที่2 เข้ามายังกรุงศรีอยุธยา
หลังจากปินโตถึงแก่กรรม บุตรีของเขาได้มอบต้นฉบับหนังสือให้แก่สำนักบวช ที่กรุงลิสบอน ต่อมากษัตริย์ฟิลิปที่1และท่านก็เป็นกษัตริย์ฟิลิปที่2ด้วย ทรงได้ทอดพระเนตร งานนิพนธ์ชิ้นนี้ บุตรีของปินโตจึงได้รับพระราชบำเหน็จรางวัลแทนบิดา งานเขียนของปินโต พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1614 เป็นภาษาต่างๆ อาทิ ภาษาฝรั่งเศษ ภาษาอังกฤษ กรมศิลปกรได้เผยแพร่บันทึกของปิ่นโตบางส่วนในชื่อ การท่องเที่ยวผจญภัย ของ แฟร์นังค์ มังเดซ ปินโต

รูปแบบการนำเสนอ
เสนอในรูปของร้อยแก้ว บางตอนได้ฟังมาจากคำบอกเล่า และการสอบถามผู้รู้ อาทิ เหตุการณ์เมื่อสมเด็จพระไชยาราชาธิราชทรงเสด็จสวรรคต ปินโตระบุว่า การเดินทางของเขามีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้มีการเรียนรู้สภาพภูมิศาสตร์ของโลก มิได้มีประสงค์ที่จะก่อให้เกิดความท้อถอย การติดต่อกับดินแดนแถบเอเชีย เขาอุทิศการทำงานให้แก่พระเจ้า มิได้หวังชขื่อเสียง จุดมุ่งหมายของปินโตคือ สะท้อนให้เห็นคุณค่า และเหตุการณ์ สถานที่ ทรัพยากร อารมณ์ อารมณ์ ความรู้สึก และวัฒนธรรมอันหลากหลายที่ปรากฎในหนังสือ
คุณค่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม
ทหารโปรตุเกตุจำนวน 120 คน ซึ่งสมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงจ้างมาเป็นทหารรักษาพระองค์ ได้สอนชาวสยามได้รู้จักการใช้ปืนใหญ่ ทหารโปรตุเกส ส่งผลให้มีการเริ่มปรับปรุง ตำราพิชัยสงคราม ภายใต้การช่วยเหลือของที่ปรึกษาชาวโปรตุเกส จนเป็นที่มาของการก่อตั้ง กรมการก่อตั้งฝารั่งแม่นปืน

ความน่าเชื่อถือ
การผจญภัยของปินโตมีลักษณะคล้ายเรื่องราวในนิยายอาหรับและตั้งฉายาเขาว่า ซินแบดแห่งโปรตุเกส ดับเบิ้ลยู เอ.อาร์.วูด ชี้ว่าควรจะอ่านงานเขียนของปินโตในฐานะที่เป็นเรื่องราวของชายชราที่ได้ เดินทางกลับไส่มาตุภูมิอีกครั้งหนึ่ง เพื่อความบันเทิงมิใช่เป็นประวัติสาสตร์ที่เขียนเป็นวันต่อวัน และตั้งข้อสงสัย เกี่ยวกับความแม่นยำ ของปีศักราชในบันทึกนี้ด้วย งานเขียนของปินโตบางส่วนมีรูปแบบเป็นจดหมาย ติดต่อกับบุคคล(Campos.1940.21)ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้าม ความแม่นยำของเวลา ที่ระบุในบันทึกของเขา

สรุป
ผู้เขียนเห็นว่างานนิพนธ์ของปิ่นโต มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์มากกว่าจะถูกมองว่าเป็นเพียงวรรณกรรม ประโลมโลกหรือนิยายผจญภัยของกลาสีเรือ แม้เนื้อหาบางตอน จะดูตื่นเต้นเร้าใจเกินกว่า จะมีความสมจริง ตามทัศนะของนักประวัติศาสตร์ แต่ในสภาวะที่ ยุโรปเพิ่งจะพ้นยุคแห่งการจุดไฟเผาหญิงสาวที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นแม่มด และยังคงเคร่งต่อจริยธรรมทางศาสนา มีใครบ้างที่จะกล้าเปิดเผย ต่อสาธารณชน ว่าตนเองเคยรับประทานเนื้อมนุษย์ เพื่อประทังชีวิตกลางทะเล หลังจากถูกโจรสลัดโจมตี ข้อถกเถียงในงานของปินโต อาจจะมีอยู่ไม่น้อย แต่มีหลักฐานประวัติศาสตร์ชิ้นใดบ้างที่ ปราศจากคำถาม และความเคลือบแคลง งานของปิ่นโตถูกตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความแม่นยำของศักราชก็เพราะบันทึกของเขาเป็นเอกสารที่ เขียนขึ้นจากความทรงจำเมื่อเขาเดินทางกลับไปใช้ชีวิตในโปรตุเกสระยะหนึ่งแล้ว พระราชพงศาวดารกรุงศรี อยุธยาฉบับหลวงประเสริฐ ได้รับความเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง ว่ามีความแม่นยำในเรื่องศักราช และเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์(นิธิใ2525:65)แต่ต่อมานักประวัติสาสตร์บางท่านก็เคยตั้งข้อสงสัยต่อสถานภาพดังกล่าว ซึ่งถือเป็นความไม่เที่ยงของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในทางกลับกันอาจจะมีผู้ใช้ บันทึกของปินโตมาตรวจสอบความแม่นยำของเอกสารฉบับใด ฉบับหนึ่งอย่างจริงจังในอนาคตก็ได้

วิจารณ์
ปินโตเป็นหลักฐานทางประวัติศาตร์ ที่มีหลักฐานจริงและเรื่องเกิดขึ้น เป็นการท่องเที่ยวที่สนุกและมีแง่มุมให้เราคิดหลายอย่าง

สถานที่ที่เราชอบ







หาดป่าตอง

สภาพบรรยากาศ มีหาดที่โค้งยาวถึง 9 กิโลเมตร หาดทรายสวยงาม น้ำทะเลใสสะอาด มีสิ่งอำนวยความสะดวกล้อมรอบ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ หาดป่าตองเป็นแหล่งที่รวมของสถานที่ท่องเที่ยว มีกิจกรรมนันทนาการให้กับนักท่องเที่ยว หาดที่ยาวและสวยงามกลางวันนักท่องเที่ยวต่างชาติ มักจะชอบมานอนอาบแดด และเล่นน้ำ และกิจกรรมทางน้ำ เช่น banana boat เจสกี อื่นๆ บรรยากาศโดยรวมดีมาก กลางคืนมีแหล่งท่องเที่ยวบันเทิงมากมาย




สิ่งดึงดูดใจหาดป่าตองมีสิ่งดึงดูดใจให้ไปท่องเที่ยวดังนี้


1. ความงามของหาดทราย หาดป่าตองเป็นหาดที่เป็นอ่าวกำแพง เพราะมีเทือกเขากั้นเป็นกำแพงอยู่หลังอ่าว ด้วยลักษณะธรรมชาติของหาดป่าตองที่มีลักษณะหาดกว้างยาว และสุดหัวหาดทั้งสองด้านมีเชิงเขาที่เป็นโขดหินยื่นออกไปในทะเลด้านละประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ เมตร จึงทำให้หาดสวยงาม คลื่นลมก็ไม่รุนแรง ระยะน้ำตื้นห่างจากฝั่ง ๓๐-๔๐ เมตร สามารถเล่นน้ำทะเลได้ตลอดปี จึงเป็นที่นิยมเล่นน้ำและพักผ่อนหย่อนใจของชาวบ้านชาวเมืองและชาวต่างประเทศเป็นอันมาก จนป่าตองถูกกล่าวขานว่าเป็นหาดที่สวยงามและมีชื่อเสียงระดับโลก
2. การดำน้ำชมความงามของปะกะรัง กัลปังหา และปลาสวยงาม เพราะทะเลหาดป่าตองมีทรัพยากรใต้น้ำที่มีความงามเป็นเลิศ ทั้งสองปีกอ่าวป่าตองมีแนวปะการังที่มีสภาพต่างกัน เนื่องจากสภาวะของที่ตั้งของหาดป่าตองและอิทธิพลจากลมมรสุม ปีกอ่าวด้านเหนือแนวปะการังจะสั้นและชัน ชนิดของปะการังจะเป็นโขดขนาดใหญ่มากกว่าปีกอ่าวด้านใต้ ที่ปีกอ่าวด้านเหนือประกอบด้วยหาดทรายเล็กสองหาด เรียงตัวจากด้านนอกสุดเข้ามา ลักษณะของแนวปะการังโดยทั่วไปคล้ายกัน น้ำลึกประมาณ ๑๕ เมตร ทัศนวิสัยอยู่ในขั้นดีมาก ปกติจะเห็นได้ในระยะ ๑๕ เมตร ที่แนวนอกสุดนี้เป็นโขดปะการังขนาดใหญ่หลายชนิด รวมทั้งชนิดที่ขึ้นแผ่ปกคลุมเป็นแผ่นด้วย มีพวกปะการังอ่อนและกัลปังหาแซมบ้างเป็นระยะ เข้ามาในระยะ ๑๐๐-๒๐๐ เมตร จากหาดก็เป็นพวกปะการังจานและปะการังเขากวาง โดยมีโขดขนาดกลางคั่นอยู่บ้างเป็นระยะ ระดับน้ำในช่วงนี้ประมาณ ๕ เมตร หากเข้าใกล้หาดมากกว่านี้จะเป็นปะการังช่วงน้ำตื้น และพวกที่อยู่พื้นน้ำ เวลาน้ำลดต่ำส่วนมากไม่สวยและมักจะตายหรือแตกหักถัดเข้ามาตามปีกอ่าวด้านเหนือมีจุดที่น่าสนใจอีกจุดบริเวณหนึ่ง บริเวณนี้ไม่มีหาดแต่เป็นโขดหิน มีโขดหินขนาดใหญ่หลายโขด มีปะการังขนาดเล็กและปะการังไฟขึ้นประปราย ที่น่าสนใจก็คือ เราสามารถพบปลาได้หลายชนิด โดยเฉพาะปลาขนาดใหญ่ที่ใช้เป็นอาหาร รวมทั้งปลาสวยงามหลายจำพวก บริเวณนี้น้ำลึกประมาณ ๑๕ เมตร ทัศนวิสัย ๑๕ เมตรขึ้นไปสำหรับปีกอ่าวป่าตองด้านใต้นั้น จะเป็นแนวปะการังยาวตลอดไปตามปีกอ่าว ระดับนอกสุดของแนวจะลึกประมาณ ๑๐-๑๒ เมตร ทัศนวิสัย ๑๕ เมตร ความกว้างของแนวปะการังจากหาดออกมาแตกต่างกันตั้งแต่ ๑๐๐ ถึง ๓๐๐ เมตร บริเวณนี้เหมาะสำหรับดำน้ำด้วยท่อหายใจผิวน้ำ (สน๊อกเกิล) หาดมีความกว้างมากขึ้น บริเวณที่ตื้นจะมีปะการังกิ่งก้านจำพวกเขากวาง หรือที่มีลักษณะเป็นพุ่ม เมื่อลึกลงไปจนระดับน้ำ ๕-๗ เมตร จะเริ่มพบปะการังนานาชนิดขึ้นปะปนกันจนถึงแนวด้านนอก ในระดับน้ำลึกประมาณ ๗-๑๒ เมตร จะพบโขดปะการังขึ้นสลับกับปะการังเขากวาง

3. เป็นชายหาดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว พักผ่อน การว่ายน้ำ และการนันทนาการทางน้ำ ได้แก่ การดำน้ำตื้น วินด์เซอร์ฟ สกู๊ตเตอร์ สกีเรือ การตกปลา และการดำน้ำลึกสิ่งอำนวยความสะดวกของหาดป่าตอง๑. ที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจแหล่งท่องเที่ยวที่หาดป่าตองหาดป่าตองมีโรงแรมมากมายที่คอยอำนวยความสะดวก และมีบริษัททัวร์มากมายที่สามารถนำนักท่องเที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวไปอย่างสนุกสนาน โรงแรมต่าง ๆ ที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ เช่น โรงแรม อมารี คอรัลบีช อันดามันออคิดโฮเต็ล บ้านสุโขทัยโฮเต็ล คลับอันดามันบีช ฮอลิเดย์อินน์รีสอร์ท รอยัลคราวน์โฮเต็ล ป่าตองแกรนด์คอนโด ป่าตองฟาเลส ป่าตองบีชบังกาโลว์ ป่าตองเมอร์ลิน เป็นต้น ซึ่งที่พักบริเวณหาดป่าตองมีจำนวนมาก๒. มีรายการทัวร์ต่าง ๆ เสนอให้นักท่องเที่ยวเลือกมากมาย โดยนักท่องเที่ยวสามารถเลือกโปรแกรมตามชอบ เช่น ทัวร์ดำน้ำ ทัวร์เกาะเฮ เกาะโหลน เกาะราชาน้อย เกาะราชาใหญ่ และการตกปลา๓. การให้บริการต่าง ๆ ได้แก่ การบริการเกี่ยวกับอุปกรณ์กีฬาผิวน้ำ โดยให้เช่าเรือวินด์เซอร์ฟ สกู๊ตเตอร์ อุปกรณ์ดำน้ำตื้น อุปกรณ์กีฬาใต้น้ำ เช่าและจำหน่ายอุปกรณ์ตกปลา อุปกรณ์ดำน้ำลึก เช่ารถจักรยานยนต์ การบริการเช่าร่มและเก้าอี้นอน มีหมอนวดแผนโบราณ สถานเริงรมย์ต่าง ๆ ที่มีทั้งริมถนนและชาดหาด

4. มีร้านอาหารบาร์เบียร์ ร้านขายของที่ระลึกตามริมหาดจำนวนมาก รวมทั้งหาบเร่แผงลอย ร้านขายพลอยและอัญมณีตามชายหาดเส้นทางเข้าสู่หาดป่าตองหาดป่าตองอยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ ๑๕ กิโลเมตร ตามเส้นทางถนนวิชิตสงครามหรือทางหลวงหมายเลข ๔๐๒๐ ประมาณ ๙ กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๔๐๒๙ อีก ๖ กิโลเมตร ก็ถึงหาดป่าตอง มีรถโดยสารเล็กทั้งรถประจำทางและรถจ้างเหมา รถเช่าทั้งรถจักรยานยนต์และรถยนต์ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้ได้