แรงจูงใจ
แรงจูงใจเป็นตัวกำหนดบุคลิกตภาพของบุคคล แรงจูงใจด้านการท่องเที่ยว หรือแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวเป็นแนวคิดที่เป็นแบบลูกผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิทยา ผสมกับแนวคิดทางด้านสังคมวิทยา แรงจูงใจจึงหมายถึงเครือข่าย(Network)ทั้งหมดของพลังทางวัฒนธรรมและพลังชีววิทยา ซึ่งเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการท่องเที่ยว พลังทางสังคมน่าจะเป็นความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของโลก การท่องเที่ยวไปในดินแดนที่เพิ่งเปิดตัวต่อโลกภายนอกกำลังเป็นสมัยนิยมอย่างหนึ่งของคนวัยหนุ่มสาวในปัจจุบัน
ทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1.ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น(Hierarchy of needs)
Maslow กล่าวว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการ และจะแสดงพฤติกรรมต่างๆ เพื่อที่จะสนองความต้องการ ความต้องการของมนุษย์ไม่มีวันจบสิ้นเมื่อความต้องการอย่างหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการอีกอย่างหนึ่งมาแทนที่ Maslow ได้เสนอลำดับขั้นการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งหลาย 5 ขั้น
1.1ความต้องการความสำเร็จแห่งตน
1.2ความต้องการที่จะมีเกียรติยศชื่อเสียง
1.3ความต้องการทางด้านสังคม
1.4ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต
1.5ความต้องการทางด้านสรีรวิทยา
2.ทฤษฎีขั้นบันได้แห่งการเดินทาง(Traval Career Ladder)
ผู้นำเสนอทฤษฎีนี้คือ Philip Pearce ความต้องการทางด้านการท่องเที่ยวมีการพัฒนาเป็นลำดับขั้นเช่นเดียวกับทฤษฎีของ Maslow ความต้องการจะเริ่งมีความลึกลับซับซ้อนมากขึ้นเมื่อนักเดินทางมีประสบการณ์มากขึ้น
ขั้นบันไดแห่งการเดินทาง
1.ความต้องการสูงสุด คือ ความต้องการความสำเร็จแห่งตน และความต้องการที่จะได้รับประสบการณ์อันหลากหลาย
2.ความต้องการความภาคภูมิใจและพัฒนาตนเอง คือ ความต้องการที่จะพัฒนาทักษะของตนเอง
3.ความต้องการสร้างสัมพันธภาพ คือ ความต้องการที่จะไห้ความเป็นมิตรและความรักแก่ผู้อื่น
4.ความต้องการความปลอดภัยมั่นคง คือ ความต้องการที่จะดำรงชีวิตอย่างมั่นคง และมีความปลอดภัย
5.ความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจสูงสุด คือ ความต้องการลิ้มรสความหิวกระหาย ความต้องการทางเพศและการผ่อนคลาย
3.แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น(Hidden Agenda)ของ Compton
แรงจูงใจวาระซ่อนเร้นมี 7 ประเภทดังนี้
1.การหลีกหนีสถานภาพที่จำเจ
2.การสำรวจและการประเมินตนเอง
3.การพักผ่อน
4.ความต้องการเกียรติภูมิ
5.ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม
6.กระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
7.การเสริมสร้างการปะทะสังสรรค์ทางสังคม
4.แรงจูงใจในทางการท่องเที่ยวในทัศนะของ Swarbrooke
แรงจูงใจที่สำคัญที่ทำให้คนเดินทางแบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่
1.แรงจูงใจด้านสรีระหรือกายภาพ
2.แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
3.การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง
4.การท่องเที่ยวเพื่อให้มาเพื่อสถานภาพ
5.แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง
6.แรงจูงใจส่วนบุคคล
แนวโน้มของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1.แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม
2.แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น
3.แรงจูงใจที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
4.แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว
5.แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย
6.แรงจูงใจที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ
7.แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี
8.แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย
9.แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม
10.แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง
ตัวอย่างการวิจัยที่ใช้วิธีการศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย
นักเดินทางประเภทแบกเป้ (Backpackers) นักเดินทางแบบนี้กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆในออสเตรเลีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนิวซีแลนด์ แรงจูงใจที่ทำให้เกิดการเดินทางในลักษณะนี้อาจสรุปได้เป็น 4 มิติดังนี้
1.การหลีกหนี อาจเป็นการหลีกหนีจากความรับผิดชอบหรือการหยุดที่จะเลือกการตัดสินใจ
2.การมุ่งเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการท่องเที่ยวส่วยใหญ่จะเน้นด้านสิ่งแวดล้อมและการผจญภัยเป็นหลัก
3.การทำงาน เป็นแรงจูงใจในด้านการทำงานในระหว่างการท่องเที่ยว และพัฒนาทักษะการทำงานในเวลาเดียวกัน
แรงจูงใจเป็นตัวกำหนดบุคลิกตภาพของบุคคล แรงจูงใจด้านการท่องเที่ยว หรือแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวเป็นแนวคิดที่เป็นแบบลูกผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิทยา ผสมกับแนวคิดทางด้านสังคมวิทยา แรงจูงใจจึงหมายถึงเครือข่าย(Network)ทั้งหมดของพลังทางวัฒนธรรมและพลังชีววิทยา ซึ่งเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการท่องเที่ยว พลังทางสังคมน่าจะเป็นความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของโลก การท่องเที่ยวไปในดินแดนที่เพิ่งเปิดตัวต่อโลกภายนอกกำลังเป็นสมัยนิยมอย่างหนึ่งของคนวัยหนุ่มสาวในปัจจุบัน
ทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1.ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น(Hierarchy of needs)
Maslow กล่าวว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการ และจะแสดงพฤติกรรมต่างๆ เพื่อที่จะสนองความต้องการ ความต้องการของมนุษย์ไม่มีวันจบสิ้นเมื่อความต้องการอย่างหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการอีกอย่างหนึ่งมาแทนที่ Maslow ได้เสนอลำดับขั้นการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งหลาย 5 ขั้น
1.1ความต้องการความสำเร็จแห่งตน
1.2ความต้องการที่จะมีเกียรติยศชื่อเสียง
1.3ความต้องการทางด้านสังคม
1.4ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต
1.5ความต้องการทางด้านสรีรวิทยา
2.ทฤษฎีขั้นบันได้แห่งการเดินทาง(Traval Career Ladder)
ผู้นำเสนอทฤษฎีนี้คือ Philip Pearce ความต้องการทางด้านการท่องเที่ยวมีการพัฒนาเป็นลำดับขั้นเช่นเดียวกับทฤษฎีของ Maslow ความต้องการจะเริ่งมีความลึกลับซับซ้อนมากขึ้นเมื่อนักเดินทางมีประสบการณ์มากขึ้น
ขั้นบันไดแห่งการเดินทาง
1.ความต้องการสูงสุด คือ ความต้องการความสำเร็จแห่งตน และความต้องการที่จะได้รับประสบการณ์อันหลากหลาย
2.ความต้องการความภาคภูมิใจและพัฒนาตนเอง คือ ความต้องการที่จะพัฒนาทักษะของตนเอง
3.ความต้องการสร้างสัมพันธภาพ คือ ความต้องการที่จะไห้ความเป็นมิตรและความรักแก่ผู้อื่น
4.ความต้องการความปลอดภัยมั่นคง คือ ความต้องการที่จะดำรงชีวิตอย่างมั่นคง และมีความปลอดภัย
5.ความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจสูงสุด คือ ความต้องการลิ้มรสความหิวกระหาย ความต้องการทางเพศและการผ่อนคลาย
3.แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น(Hidden Agenda)ของ Compton
แรงจูงใจวาระซ่อนเร้นมี 7 ประเภทดังนี้
1.การหลีกหนีสถานภาพที่จำเจ
2.การสำรวจและการประเมินตนเอง
3.การพักผ่อน
4.ความต้องการเกียรติภูมิ
5.ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม
6.กระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
7.การเสริมสร้างการปะทะสังสรรค์ทางสังคม
4.แรงจูงใจในทางการท่องเที่ยวในทัศนะของ Swarbrooke
แรงจูงใจที่สำคัญที่ทำให้คนเดินทางแบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่
1.แรงจูงใจด้านสรีระหรือกายภาพ
2.แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
3.การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง
4.การท่องเที่ยวเพื่อให้มาเพื่อสถานภาพ
5.แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง
6.แรงจูงใจส่วนบุคคล
แนวโน้มของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1.แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม
2.แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น
3.แรงจูงใจที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
4.แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว
5.แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย
6.แรงจูงใจที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ
7.แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี
8.แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย
9.แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม
10.แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง
ตัวอย่างการวิจัยที่ใช้วิธีการศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย
นักเดินทางประเภทแบกเป้ (Backpackers) นักเดินทางแบบนี้กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆในออสเตรเลีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนิวซีแลนด์ แรงจูงใจที่ทำให้เกิดการเดินทางในลักษณะนี้อาจสรุปได้เป็น 4 มิติดังนี้
1.การหลีกหนี อาจเป็นการหลีกหนีจากความรับผิดชอบหรือการหยุดที่จะเลือกการตัดสินใจ
2.การมุ่งเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการท่องเที่ยวส่วยใหญ่จะเน้นด้านสิ่งแวดล้อมและการผจญภัยเป็นหลัก
3.การทำงาน เป็นแรงจูงใจในด้านการทำงานในระหว่างการท่องเที่ยว และพัฒนาทักษะการทำงานในเวลาเดียวกัน
4.เน้นการคบหาสมาคม นักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ที่มีแรงจูงใจที่ชัดเจนคือ ความต้องการที่จะกระชับความสัมพันะกับผู้อื่น หรือแรงจูงใจทางด้านสังคมนั่นเอง
โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้แก่
1.ระบบไฟฟ้า
2.ระบบประปา
3.ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
4.ระบบการขนส่ง ประกอบไปด้วย
4.1 ระบบการเดินทางอากาศ
4.2 ระบบการเดินทางบก
4.3 ระบบการเดินทางน้ำ
5.ระบบสาธารณะสุข
ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค
1.ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
1.1 ลักษณะภูมิประเทศ
1.2 ลักษณะภูมิอากาศ
2.ปัจจัยทางวัฒนธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น