วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 12 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว







การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce: E-Commerce)
คือการทำธุรกรรมผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks) โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของบริษัทและองค์กรให้ดียิ่งขึ้น โดยอยู่บนพื้นฐานของการประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัล ที่มีทั้งข้อความ เสียงและภาพ


รูปแบบของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันนั้นได้พัฒนาขึ้นมาจากรูปแบบหลัก 2 ประการ คือ
1. รูปแบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI) โดยเกิดขึ้นระหว่างบริษัทและองค์กรต่างๆ ที่มีการทำธุรกรรมร่วมกัน
2. รูปแบบการใช้บริการตู้จ่ายเงินสดอัตโนมัติ (ATMs) เกิดขึ้นระหว่างลูกค้าและสถาบันการเงินนั้นๆ

“จำกัดจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งหรือแบบตัวต่อตัวเท่านั้น” (one to one)

“จำกัดจากที่หนึ่งไปยังอีกหลายๆที่” (onetoo many)

ปัจจุบันนี้การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้โดยปราศจากข้อจำกัดโดยเป็นแบบ“จากทุกๆที่” (many to many) ซึ่งต่อมารูปแบบได้เรียกกันอย่างแพร่หลายว่า อินเตอร์เน็ต (internet) เหตุผลหลักที่ทำให้จำนวนบริษัทและองค์กรต่างๆ หันมาใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น
•คือ การที่บริษัทและองค์กรสามารถจำหน่ายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคได้โดยตรงในราคา ที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกับราคาขายปลีกโดยไม่ต้องแบ่งปันผลกำไรให้แก่ตัวแทน จำหน่ายหรือช่องทางการจัดจำหน่ายอื่นๆ
•ทำ ให้บริษัทและองค์กรมีรายได้และมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงคุณภาพการบริการให้ดียิ่งขึ้น และขนส่งสินค้าไปยังผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นอีกด้วย ความสัมพันธ์ระหว่าง การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ VS อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประโยชน์ทางด้านการติดต่อสื่อสารสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประโยชน์ทางด้านการขายสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ตัวอย่าง ธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่นำเอาระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ประโยชน์ http://www.airasia.com/ http://www.thaiairways.com/

ผลกระทบของระบบอินเตอร์เน็ตที่มีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
การเข้ามาของระบบอินเตอร์เน็ตนั้นมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมากมายโดยครอบคลุมทั้งธุรกิจทางด้านการท่องเที่ยวและการบริการต่างๆ โดยเกี่ยวข้องกับเรื่องข้อมูลต่างๆ การตลาด ผลิตภัณฑ์ และการบริการเนื่องจากผู้ใช้ระบบอินเตอร์เน็ตในการซื้อสินค้าและการบริการทางด้านการท่องเที่ยวนั้นเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว


วิธีการระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ได้ประโยชน์อย่างสูงสุด

-การประชาสัมพันธ์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
-การกระจายข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
-การเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
-การจองผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

บทที่ 11 องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว











องค์กร ท่องเที่ยวโลก เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อตามวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว นานาชาติในระดับระหว่างรัฐบาลโดยจัดตั้งเป็นองค์การที่มีชื่อว่าWorld Tourism Organization: WTO
องค์กรการท่องเที่ยวโลกจัดชึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้

1.เพื่อ ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างความเข้าใจระหว่างประเทศ สันติภาพ ความมั่งคั่ง โดยเคารพหลักสากลในด้านสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนทั่วโลก โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และเพศ
2.เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การ จึงให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อ ประโยชน์ของประเทศที่กำลังพัฒนาในด้านการท่องเที่ยว
3.เพื่อ ดำเนินการตามบทบาทด้านการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ องค์การจึงสร้าง และธำรงไว้ในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพกับองค์การสหประชาชาติ ตลอดจนทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การ สหประชาชาติ โดยองค์การจะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICOA)มี สำนักงานใหญ่อยู่ที่นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เป็นองค์การที่จัดตั้งขึ้นในปี 2487 (ค.ศ.1944) ปัจจุบันมีสมาชิก 188 ประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายขององค์การ คือ ส่งเสริมการบินพลเรือนให้กว้างขวางไปทั่วโลกองค์การ นี้มีสำนักงานสาขาประจำภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิกในประเทศไทยโดยตั้งอยู่บน ถนนวิภาวดีรังสิต (ติดกับสวนจตุจักร) ลาดพร้าว กรุงเทพฯ

องค์กรระดับภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาครัฐองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development-OECD)ก่อ ตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1960 ที่กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส องค์กรนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวกล่าว คือ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการการท่องเที่ยวขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวประสาน งานการศึกษาทางด้านการท่องเที่ยวและเป็นผู้ดำเนิน การจัดประชุมประเทศสมาชิก เพื่อปรับปรุงวิธีการทางสถิติของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราและระบบบัญชี องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนายังได้จัดทำรายงานประจำปีที่ เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ภายใต้ชื่อว่า “Tourism Policy and International Tourism in OECD MemberCountries”

องค์กรระดับอนุภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาครัฐคณะอนุกรรมการด้านการท่องเที่ยวภายใต้คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการท่องเที่ยวอาเซียน (Sub-Committee on Tourism of the Committee on Trade and Tourism)วัตถุ ประสงค์ในการดำเนินงานคือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน ส่งเสริมให้มีความร่วมมือกันอย่างจริงจังระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาค เอกชนที่เกี่ยวข้องในกิจการท่องเที่ยว เช่น ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจนำเที่ยว เป็นต้น

องค์กรระดับโลกที่ดำเนินการโดยภาคเอกชนWorld Travel and Tourism Council: WTCCสภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกสมาชิก ของสภาจะเป็นองค์การที่ได้รับการเชิญให้เป็นสมาชิกเท่านั้น โดยการพิจารณาให้เป็นสมาชิกดูที่ว่าเป็นธุรกิจที่มีคุณภาพและน่าเชื่อถือ รวมทั้งเป็นองค์การที่เป็นที่ยอมรับในระดับโลก หรือระดับภูมิภาคหรือไม่ เช่น สายการบิน โรงแรม ธุรกิจบันเทิง ธุรกิจนำเที่ยว หรือธุรกิจให้เช่ารถ เป็นต้น
สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกมีพันธกิจในการดำเนินงาน 3 ด้านหลัก ดังนี้

1.การดำเนินงานตามวาระการประชุม การ สร้างความตระหนักถึงผลกระทบถึงการเดินทางและการท่องเที่ยว และชักชวนรัฐบาลให้คำนึงถึงความสำคัญของการสร้างงานและยกระดับเศรษฐกิจของ ประเทศด้วยการเดินทางและการท่องเที่ยว
2.การเป็นผู้อำนวยความสะดวก การช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมเข้าใจ คาดหวัง แปลความหมาย และดำเนินงานการพัฒนาภูมิหลักของโลก
3.การ สร้างเครือข่ายสภา สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลกเป็นสภาของผู้นำทางธุรกิจที่ผู้มีส่วน เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเดินทางและการท่องเที่ยวอยากเข้ามามีส่วนร่วม International Congress andConvention Association: ICCA

สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ
สมาคมส่งเสริมการประชุมระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการระหว่างประเทศ และ เป็นตัวกลางในการอำนวยความสะดวกในการจัดบริการด้านที่พัก การจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประชุมและการจัดนิทรรศการองค์กรระดับภูมิภาคที่ดำเนินการโดยภาคเอกชนThe Pacific Asia Travel Association: PATAมีวัตถุประสงค์การดำเนินงานเพื่อกระตุ้นความสนใจให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นดินแดนเพื่อการพักผ่อน เพื่อ พัฒนา ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยวไปสู่แหล่งท่องเที่ยวในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิก ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 3 ของโลก และให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคแปซิฟิก

วัตถุประสงค์หลักในการดำเนินงานของสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่
1. เป็นสื่อกลางแห่งความร่วมมือระหว่างประเทศ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
2. การให้ความช่วยเหลือด้านการส่งเสริม และการพัฒนาแก่ประเทศสมาชิก และช่วยหาแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการที่เกี่ยวกับที่พัก และการพักผ่อนหย่อนใจ
3. การประสานงานระหกว่างสมาชิกทั้งมวลกับวงการอุตสาหกรรมขนส่ง และธุรกิจการท่องเที่ยว
4. การดำเนินการโฆษณา ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นที่รู้จักกว้างขวางในฐานะที่เป็นภูมิภาค ที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวพักผ่อนแห่งหนึ่งของโลก
5. การส่งเสริมให้มีการบริการ และการอำนวยความสะดวกในด้านการขนส่งทั้งที่เข้ามา และภายในภูมิภาคแปซิฟิกให้พอเพียง
6. การดำเนินการด้านสถิติ และค้นคว้าวิจัยแนวโน้มของการเดินทางท่องเที่ยว และการพิจารณาของการท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์แก่สมาชิกทั้งมวล ASEAN Tourism Association: ASEANTA

สมาคมท่องเที่ยวอาเซียนเป็นการรวมตัวของสมาคมธุรกิจท่องเที่ยว สมาคมโรงแรม และสายการบินแห่งชาติอาเซียน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1971 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อรวมให้สมาชิกมีจุดมุ่งหมายเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการประสานความร่วมมือ มิตรภาพ ตลอดจนความช่วยเหลือต่อกัน
2. เพื่อรักษาระดับของมาตรฐานการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้เดินทางและนักท่องเที่ยว
3. รักษาไว้ซึ่งเกียรติภูมิและคุณธรรมของธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อคงไว้ซึ่งงานอาชีพแขนงหนึ่ง
4. สนับสนุนและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน
5. กระตุ้น สนับสนุน และช่วยพัฒนาการท่องเที่ยวภายในภูมิภาคอาเซียน
6. ประสานงานและให้คำแนะนำแก่สมาคม หน่วยงานของรัฐ เอกชน และองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกหรือเกี่ยวข้องในวงการธุรกิจท่องเที่ยว ในกลุ่มประเทศอาเซียน
7. ให้บริการหรือความช่วยเหลือต่อภาครัฐบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว American Society of Travel Agents ASTA

สมาคมบริษัทนำเที่ยวแห่งอเมริกาสมาคม นี้ถือได้ว่าเป็นสมาคมของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นองค์การเดียวที่รวบรวมสมาชิกต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทุกสาขาไว้ด้วยกันปัจจุบันสมาคมมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเพื่อ
1. วางมาตรการการบริการแก่นักท่องเที่ยว
2. ส่งเสริมการท่องเที่ยว และประสานงานการดำเนินงานของบริษัทนำเที่ยวในสหรัฐอเมริกา
3. ให้ความร่วมมือแก่องค์การระหว่างประเทศ และสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศต่างๆ ทั่วโลก
4. ขจัดปัญหาและร่วมอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวเป็นส่วนรวมสำหรับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) นั้นเข้าเป็นสมาชิกเมื่อปี พ.ศ.2509องค์กรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย

กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา(Ministry of Tourism and Sport)
สำนัก งานพัฒนาการท่องเที่ยวมีภารกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในการพัฒนามาตรฐาน การบริการด้าน การท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการสนับสนุนการประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ให้อยู่ในระดับ มาตรฐานเพื่อ ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเพื่อก่อให้เกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ซึ่งเดิมเป็นภารกิจของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และได้ถ่ายโอนมาให้สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ประกอบกับกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2545 นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว ยังรับโอนงานพัฒนาและสนับสนุนกิจการภาพยนตร์มาจากกรมประชาสัมพันธ์ด้วยThailand Convention and Exhibition Bureauเป็นองค์การมหาชนของรัฐ สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดตั้งในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2545 ทำหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดประชุมและนิทรรศการ (MICE) นานาชาติในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นสถานที่สำคัญในการจัดกิจกรรมดังกล่าวองค์กรภาคธุรกิจเอกชนสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (Association of Thai Travel Agents :ATTA)
สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (Thai Travel Agents Association: TTAA)
สมาคมผู้ประกอบการนำเที่ยวแห่งประเทศไทย (สนท. The Association of Thai Tour Operators: ATTO)
สมาคมมัคคุเทศก์อาชีพแห่งประเทศไทย (สมอ. Professional Guide Association Thailand: PGAสภา อุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรภาคเอกชน จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติ มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ที่กำหนดในพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย พ.ศ.2544 ดังนี้
-เป็นตัวแทนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านการประสานงานอย่างมีระบบ ระหว่างรัฐกับเอกชนด้วยกัน-ส่งเสริมให้มีการพัฒนาการประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถาน และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
-ส่งเสริมให้มีจรรยามารยาทในการท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้มีระบบการรับรองคุณภาพ ระบบมาตรฐาน และระบบประกันคุณภาพของธุรกิจที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการสำหรับนักท่องเที่ยว
-ควบคุมดูแลให้สมาชิกผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวดำเนินการอย่างมีคุณภาพ มีคุณธรรม และมีจรรยาบรรณ
-ส่ง เสริมสนับสนุนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทดลอง อบรม และเผยแพร่วิชาการและเทคโนโลยี เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้แก่สมาชิก หรือจัดเป็นบริการบุคคลทั่วไป
-ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อสมาชิก และบุคคลทั่วไปทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ
-เสนอความเห็นหรือให้คำปรึกษาต่อคณะรัฐมนตรีในเรื่องเกี่ยวกับอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว
-ให้ความร่วมมือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริม กิจการด้านการท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ
-คุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของสมาชิกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างสมาชิกด้วยกัน
-ศึกษาและหาทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
-ดำเนินกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว
-ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

บทที่ 10 กฏหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว



อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับองค์กรณ์หลายฝ่ายทั้งรัฐและเอกชน และด้วยเหตุที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการสั่งการในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวดั้งนั้นกฎหมายสำคัญของไทยที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1.กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป
2.กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว

3.กฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว
4.กฎหมายควบคุมเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว

กฎหมายเกี่ยวกับองค์การที่ดูแลสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยทั่วไป
มีกฎหมายสำคัญจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
1.พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522
-คำจำกัดความของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวและคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
-ระเบียบเกี่ยวกับการจัดตั้งทุน และเงินสำรองของการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยระเบียบเกี่ยวกับการกำกับ การควบคุมและการบริหารงานของททท.

2.พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545
-กฎหมายก่อตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขึ้นรับผิดชอบด้านการท่องเที่ยว
-ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) โอนภาระงานด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาบริการท่องเที่ยว และทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวให้กับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
-ทำให้ททท.มีหน้าที่เพียงด้านการบริหารจัดการตลาดการท่องเที่ยวเป็นหลักพระราชบัญญัติสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.2544
-กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1)เป็นตัวแทนของผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในด้านการประสานงาน
2)ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
3)ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยว โบราณสถาน และสิ่งแวดล้อมรวมทั้งเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
4) ส่งเสริมให้มีจรรยามารยาทในการท่องเที่ยวพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ถึง 2546 (รวม 5 ฉบับ)
-เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
-จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก การกำจัดมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
-คุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

กฎหมายควบคุมนักท่องเที่ยว มีกฎหมายสำคัญ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่
2.1พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522, 2523 และ 2542
-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้าออกในประเทศไทยในฐานะนักท่องเที่ยว
-ดูแลเกี่ยวกับการเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวของคนต่างด้าว
-การควบคุมพาหนะที่เข้า
-ออกประเทศตามช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมืองหรือท้องที่ที่กำหนด
2.2พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 ถึง 2548-เป็นกฎหมายเก่าแก่ที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2469 และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมเรื่อยมาโดยลำดับ
-ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มีกฎหมายศุลกากรใช้บังคับอยู่รวม 20 ฉบับ
-เนื้อหาเกี่ยวข้องกับการนำของเข้า การส่งของออก

การเสียภาษีตามพิกัดอัตราศุลกากรของนักท่องเที่ยว รวมทั้งระเบียบว่าด้วยการตรวจของและป้องกันการลักลอบหนีศุลกากร และข้อกำหนดเรื่องการนำเงินตราเข้าออกประเทศกฎหมายควบคุมดูแลและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวมีกฎหมายสำคัญ จำนวน 17 ฉบับ ได้แก่
1. พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504
-เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองดูแลรักษาและจัดการอุทยานแห่งชาติอันเป็นทรัพยากรการ ท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติซึ่งต้องการให้มีการจัดการ การอนุรักษ์ และพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความยั่งยืน
-อยู่ภายใต้การบริหารจัดการของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2. พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 และ 2546
-เกี่ยวข้องกับการสงวนและคุ้มครองโดยคณะกรรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ เพื่อไม่ให้สัตว์ป่าเหล่านั้นถูกทำร้ายและสูญพันธุ์ในบริเวณเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า และอุทยานแห่งชาติ
-กิจกรรมการดูนก ส่องสัตว์ในบริเวณดังกล่าว สำหรับนักท่องเที่ยวจึงมีความจำเป็นและเกี่ยวโยงกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

3. พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507, 2522 และ 2528
-เกี่ยวข้องกับการจัดการดูแลพื้นที่บริเวณที่เป็นป่าสงวน
-ซึ่งปัจจุบันสถานที่ท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ยังคงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ

4. พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484, 2522 และ 2525เกี่ยวกับการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ
-ควบคุมการตัดไม้ ทำไม้ และของป่าหวงห้าม รวมทั้งควบคุมการนำไม้และของป่าเคลื่อนออกจากป่า
-เพื่อมิให้มีการตัดไม้และทำลายไม้โดยไม่จำเป็น และสงวนไม้มีค่าบางชนิดเอาไว้
-มีส่วนช่วยในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของป่าให้ยั่งยืน

5. พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510, 2522 และ 2534
-การสำรวจแร่หรือทำเหมือง ถ้าพบโบราณวัตถุหรือซากดึกดำบรรพ์หรือแร่พิเศษอันมีคุณค่าแก่การศึกษาในทางธรณีวิทยา จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บได้ซึ่งวัตถุนั้น และผู้ถืออาชญาบัตรหรือผู้ถือประทานบัตรชั่วคราว หรือผู้ถือประทานบัตรจะต้องแจ้งต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องถิ่น
-มีส่วนในการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวเช่นกัน

6. ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2520
-การสำรวจและทำสำมะโนที่ดินเพื่อให้ทราบถึงความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ และความเหมาะสมแก่การทำประโยชน์ของรัฐและประชาชน
-กระทรวงมหาดไทยได้อาศัยมาตรา 9 (2) ออกประกาศลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2523 มิให้มีการทำลาย หรือทำให้เสื่อมสภาพในบริเวณที่เขาหรือภูเขา และปริมณฑลรอบที่เขาหรือภูเขาสูง 40 เมตร บริเวณแม่น้ำลำคลอง รวมถึงที่ดินของรัฐที่มิได้มีบุคคลผู้ใดมีสิทธิครอบครองเฉพาะบริเวณที่ดินที่เป็นหิน ที่กรวด หรือที่ทราย

7. พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ.2485 เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาและอนุรักษ์ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม ความเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้คงอยู่สืบไปซึ่งกิจกรรมประเพณีและศิลปวัฒนธรรมจัดเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวที่สำคัญ การดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ

8.พระราชบัญญัติรักษาคลอง รศ. 121เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลและจัดการกับพื้นที่บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ให้อยู่ในสภาพดีและเหมาะสม ปัจจุบันบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในกรุงเทพมหานคร ดังนั้นการดำเนินการใดๆในพื้นที่แห่งนี้ต้องถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติเกาะรัตนโกสินทร์

9. พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.2535เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียน การกำกับดูแลโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และป้องกันการค้าโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ผิดกฎหมาย การจัดตั้งอุทยานประวัติศาสตร์
-ระบุให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเป็นที่เก็บรักษาโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด และมีการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด
-เนื่องจากพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมการดำเนินการใดๆจึงต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้อย่างเคร่งครัด

10. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535การควบคุมมลพิษ เช่น มลพิษทางอากาศ เสียง ทางน้ำ ของเสียอันตรายฯลฯการส่งเสริมรักษาและกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น มาตรฐานคุณภาพน้ำในแม่น้ำ คลอง ชายฝั่งทะเล มาตรฐานคุณภาพอากาศ มาตรฐานระดับเสียงและความสั่นสะเทือน ฯลฯการกำหนดมาตรฐาน ควบคุมการระบายน้ำทิ้งจาก โรงแรม อาคารชุด หอพักฯลฯ ในแหล่งท่องเที่ยวและควบคุมมลพิษจากแหล่งที่อื่นที่อาจจะส่งผลต่อแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้เคียง

11. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และ 2535ควบคุม ดูแลกิจกรรมต่างๆ ของคณะสงฆ์ ซึ่งรวมถึงที่ดินของวัดอันเป็นที่ตั้งของทรัพยากรการท่องเที่ยวประเภทศาสนสถานและโบราณสถานห้ามแย่งการครอบครองหรือครอบครองปรปักษ์ที่วัด (คือ ที่ซึ่งตั้งวัดตลอดจนเขตของวัดนั้น) หรือที่ธรณีสงฆ์ (คือ ที่ซึ่งเป็นสมบัติของวัด) นั้น และไม่ให้ที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์ตกอยู่ในข่ายของการบังคับคดี คือ ใครจะยึดไปขายทอดตลาดชำระหนี้ไม่ได้ เท่ากับทำให้วัดซึ่งเป็นที่ตั้งของศาสนสถานและโบราณสถานต่างๆ ยังคงดำรงอยู่ตลอดไปห้ามมิให้เจ้าอาวาสหรือผู้แทนโอนที่ดินไปให้บุคคลใดได้ตามใจชอบวัดและวัดร้างที่ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานยังต้องอยู่ในความควบคุมของพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 การก่อสร้างอาคารต้องได้รับการอนุญาตจาก...............

12. พระราชบัญญัติสุสานและฌาปนสถาน พ.ศ. 2528กำหนดให้มีการเผาศพ หรือฝังศพในสุสานและฌาปนสถานสาธารณะหรือเอกชนที่ได้มีผู้ดำเนินการอนุญาตจัดตั้งเท่านั้น จะไปเผาศพหรือฝังศพที่อื่นไม่ได้ เช่น ในที่ป่าไม้ ที่ภูเขา ที่น้ำตก ถ้ำ ฯลฯ ที่มีลักษณะเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยว เพราะจะทำให้ภูมิทัศน์ของพื้นที่เหล่านั้นเสียไป รวมไปถึงการก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับด้านสาธารณสุข คือ อาจเป็นอันตรายในทางอนามัยแก่ประชาชนทั่วไปได้ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลง ต่อเติมสุสานและฌาปนสถานสาธารณะหรือของเอกชน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นข้อห้ามเช่นนี้มีประโยชน์ต่อทรัพยากรการท่องเที่ยวที่เป็นสุสาน เช่น สุสานทหารสัมพันธมิตร จ.กาญจนบุรี สุสานสงครามช่องไก่ จ.กาญจนบุรี หรือสุสานเจ้าเมืองระนอง จ.ระนอง

13. พระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ. 128 กำหนดหลักเกณฑ์ในการที่จะให้มิสซังกรุงเทพ และมิสซังหนองแสง (นครพนม) ถือที่ดินในประเทศไทยเพื่อก่อตั้งวัดบาทหลวงและสถานที่พักสอนศาสนาวัดและสิ่งก่อสร้างทางศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกบางแห่งสร้างแบบสถาปัตยกรรมของยุโรป เช่น วัดอัสสัมชัญที่บางรัก หรือโบสถ์คาทอลิกในโรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ใน จ.จันทบุรี สร้างขึ้นแบบสถาปัตยกรรมกอธิค เป็นต้นเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวอีกประเภทหนึ่งที่นักท่องเที่ยวต้องการจะดูและศึกษาถึงการก่อสร้าง ประวัติความเป็นมา และความสวยงามของศาสนสถานนั้นๆ

14. พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2490 และ 2528 ควบคุม และดูแลทางด้านการประมง อนุรักษ์ที่จับสัตว์น้ำ เช่น กว๊านพะเยา บึงบรเพ็ด ทะเลสาบสงขลา หรือท่าน้ำหน้าวัดต่างๆ ที่มีปลาอาศัยอยู่ เช่น วัดไร่ขิง จ.นครปฐม วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี เป็นต้นช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยว เช่น ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงหรือเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่รักษาพืชพันธุ์ (คือที่จับสัตว์น้ำซึ่งอยู่ในบริเวณพระอารามหรือปูชนียสถาน หรือติดกับเขตสถานที่ดังกล่าว บริเวณประตูระบายน้ำ ฝาย หรือทำนบ) ห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพของที่จับสัตว์น้ำหรือปลูกสร้างสิ่งใดหรือปลูกพืชพันธุ์ไม้ใดๆ ลงในที่จับสัตว์น้ำ ห้ามใช้วัตถุระเบิดหรือห้ามก่อภาวะมลพิษในแหล่งน้ำ เป็นต้น

15. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512, 2522 และ 2535เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการการสร้างโรงงานและการจัดการโรงงาน เพื่อลดการส่งผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อแหล่งท่องเที่ยว และในบริเวณใกล้เคียงแหล่งท่องเที่ยวโรงงานสุรา..............................................................

16. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบของชานเมือง พ.ศ.2535เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสะอาดในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพฯ พัทยา และเทศบาลซึ่งพื้นที่ต่างๆ เหล่านี้อาจรวมถึงบริเวณแหล่งท่องเที่ยวด้วย17. พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518, 2525 และ 2535 และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522, 2535 และ 2543-เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคารบริเวณแหล่งท่องเที่ยว การจัดการด้านผังเมือง การกำหนดเขตต่างๆในแหล่งท่องเที่ยว

บทที่ 9 ธุรกิจอื่นๆและองค์ประกอบเสริมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

นอกจากธุรกิจหลักซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินธุรกิจการท่องเที่ยวแล้วยังมีธุรกิจอื่นๆดำนินการเพื่อตอบสนองความต้องการบริการด้านต่าง ๆ แก่ นักท่องเที่ยวเช่น การบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม สถานบันเทิง ร้านขายของที่ระลึก ศุนย์ข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยวและอื่น ๆธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่มเราสามารถแบ่งประเภทของธุรกิจอาหารการบริการและเครื่องดื่มได้เป็น 7 ประเภทใหญ่ๆดังนี้
1. ธุรกิจอาหารจานด่วนเป็นธุรกิจอาหารที่กำลังได้รับความนิยมและขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ลูกค้าสามารถเลือกที่จะนั่งรับประทานในร้านหรือซื้อออกไปก็ได้และราคาอาหารค่อนข้างต่ำ ร้านอาหารจานด่วนมีการดำเนินการในรูปแบบของการรับสิทธิ
2. ธุรกิจอาหารสำเร็จรูปเดลี่เป็นธุรกิจที่ผสมผสานการให้บริการอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง เนย แซนวิช สลัด และอาหารสำเร็จรูป ประเภทอื่นๆ ปัจจุบันร้านอาหารประเภทนี้นิยมมาก
3. ธุรกิจอาหารบุฟเฟ่ต์เป็นธุรกิจอาหารแบบบริการตนเอง ซึ่งปกติจะบริการเครื่องดื่มและจะให้บริการที่โต๊ะลูกค้าโดยตรง ทุกอย่างคุณสามารถกินได้ และตั้งราคาเดียวและราคาไม่สูงมากนัก
4. ธุรกิจค๊อฟฟี่ช๊อพเน้นการบริการอาหารแบบรวดเร็ว ลูกค้าหมุนเวียนเข้าไปมารับประทานอาหารโดยใช้เวลาน้อย ไม่เน้นความหรูหราและราคาค่อนข้างต่ำร้านอาหารประเภทนี้ส่วนใหญ่จะขายดีที่สุดช่วงอาหารเที่ยงรือช่วงกาแฟบ่าย5. ธุรกิจคาเฟทีเรียเป็นธุรกิจอาหารแบบบริการตนเอง โดยส่วนใหญ่ราการอาหารจะค่อยข้างจำกัดกว่าภัตตาคารทั่วๆ ไป จำนวนมากที่ต้องการความรวดเร็วในช่วงธุรกิจหนาแน่น ดังนั้นการฝึกฝนให้พนักงานบริการอย่างรวดเร็วจึงค่อนข้างจำเป็น
6. ธุรกิจอาหารกูร์เมต์เป็นธุรกิจที่เน้นการให้บริการในระดับสูง ทั้งในด้านคุณภาพอาหาร โดยเน้นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการมาตรฐานการบริการในระดับสูง และพร้อมจ่ายเงินเพื่อซื้อการบริการที่พึงพอใจ จึงทำให้ต้องลงทุนสูงกว่าภัตตาคารหรือร้านอาหารประเภทอื่นๆเพื่อชื่อเสียงของร้านและดึงดูดลูกค้าให้กลับมาใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ
7. ธุรกิจอาหารเฉพาะกลุ่มเชื้อชาติเป็นธุรกิจที่ให้บริการอาหารเฉพาะรายการอาหารประจำท้องถิ่นหรือประจำชาติ พนักงานเน้นลักษณะประจำชาติหรือลักษณะท้องถิ่นนั้นๆ

อาหารไทย
อาหารไทยถือเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมและมีชื่อเสียงไปทั่วโลกอาจเป็นเพราะรสชาติที่กลมกล่อมและความสวยงามประณีตเป็นที่แน่นอนว่าเมื่อนักท่องเที่ยวเมืองไทยส่วนใหญ่ก็มักต้องการลิ้มรสอาหารไทยแบบดั่งเดิมดูสักครั้ง

อาหารไทยภาคเหนือ
ภูมิประเทศทางภาคเหนือของไทยอุดมไปด้วยป่าไม้และภูเขาสูงแวดล้อมไปด้วยพืชพรรณธรรมชาตินานาชนิด ภาคเหนือยังมีคนไทยภูเขาหลายเผ่าอาศัยอยู่จึงมีความหลากหลายทางวัมนธรรม และยังคงใกล้ชิดธรรมชาติอยู่มาก ซึ่งผลให้อาหารทางเหนือยังใช้พืชตามป่าเขาและพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติในการปรุงอาหารเป็นส่วนใหญ่ การรับประทานอาหารแบบขัยโตก อาหารทางภาคเหนือไม่นิยมใส่น้ำตาลเพราะความหวานจะมาจากผัก เช่นการนำผักมาผัดหรือต้มให้นุ่มก่อนรับประทาน เช่นแคปหมูใช้รับประทานคู่กับขนมจีนน้ำเงี้ยวก่อนรับประทาน

อาหารไทยภาคใต้
ภูมิประเทศของภาคใต้เป็นคาบสมุทรที่ยื่นลงไปในทะเล อาชีพของชาวใต้ก็คือชาวประมงอาหารหลักจึงเป็นอาหารทะเล จำพวกกุ้ง หอย ปู ปลา จะมีกลิ่นคาวจัดใช้เครื่องเทศและขมิ้นเพื่อดับกลิ่นคาว อาหารใต้หลายชนิดที่นิยมรับประทานกับผักเพื่อลดความเผ็ดร้อน ข้าวยำปักษ์ใต้ แกงไตปลา แกงเหลือง เป็นต้น

อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตั่งอยู่บนพื้นที่ที่ราบสูง กักเก็บน้ำได้ไม่ดีจึงแห้งแล้งในหน้าร้อน นิยมบริโภคเนื้อสัตว์เหล่านี้ โดยทั่วไปคนอีสานชอบอาหารรสเค็ม เผ็ด เปรี้ยว จึงมีการถนอมอาหาร เช่นปลาร้า เนื้อเค็ม ไส้กรอกหมู เป็นต้นการดำเนินงานด้านธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มปัจจุบันผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่มนิยมหันไปทำธุรกิจในลักษณะที่เป็นกลุ่มธุรกิจหรือตามที่ วินิจ วีรยางกูรได้สรุปไว้ดังนี้1) มีการจำกัดประเภทอาหารให้แคบลง2) ต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ3) มีการฝึกพนักงานอย่างดี ทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพสูง4) ภาชนะที่ใส่อาหารส่วนใหญ่เป็นประเภทรับประทานแล้วทิ้งเลย5) มีอาหารน้อยชนิด การปรุงอาหารไม่ซับซ้อน

ลักษณะอาหารที่โรงแรมจัดไว้ส่วนใหญ่มักเป็นอาหารตะวันตก
1) อาหารเช้า คืออาหารที่รับประทานตั้งแต่8.00-9.00เป็นเป็น2ประเภทคือ
1.1อาหารเช้าแบบยุโรป เป็นอาหารเช้าที่ประกอบไปด้วยน้ำผลไม้ ขนมปัง แยม หรือเนยหรือกาแฟเท่านั้น
1.2อาหารเช้าแบบอเมริกัน ประกอบด้วยน้ำผลไม้ คอร์นแฟลก ขนมปัง ไข่ดาว แฮม เบคอน แล้วตามด้วยชา กาแฟ2) อาหารก่อนกลางวัน คือรับประทานช่วงเวลาระหว่างอาหารเช้ากับมื้อเที่ยงตั่งแต่9.30-11.30
3) อาหารกลางวัน Lunch or Luncheon รับประทานในช่วง 11.30-14.00 น.เป็นอาหารที่ไม่หนักจนเกินไป ใช้เนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย เช่น ปลา หมู ผักต่างๆ อาจเป็นแบบ A La Carte คือรายการที่ลูกค้าสามารถสั่งได้ตามใจชอบจากรายการที่มี หรือ Table d ’Hotel คือแบบรายการอาหารชุด แบ่งเป็น
-อาหารจานเดียว (One Course)
-อาหารกลางวันประเภทสองจาน (Two Courses)
-อาหารกลางวันประเภทสามจาน (Three Courses)
-อาหารกลางวันแบบบุฟเฟต์ (Buffet Lunch)
4) อาหารว่างหรืออาหารน้ำชา (Afternoon Tea)ปกติรับประทานเวลา 15.00-17.00 น. ชากาแฟ เค้ก หรือ ผลไม้
5) อาหารเย็น ( Dinner)เริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. เป็นอาหารมื้อที่หนักที่สุดของวัน ประกอบด้วยอาหารชุดต่าง ๆ ดังนี้
-อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer)
-ซุป (Soup)
-อาหารนำจานหลัก (Entrees) ประเภทอาหารทะเล
-อาหารหลัก (Main Course) ได้แก่อาหารประเภท เนื้อสัตว์ แป้ง
-ของหวาน (Dessert)-ชาหรือกาแฟ (Tea or Coffee)
6) อาหารมื้อดึก (Supper)เป็นอาหารเบาๆ ซึ่งรับประทานหลังมื้อเย็นหรือหลังอาหารหนัก

การจัดการและการตลาด (Management and Marketing)
เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าธุรกิจอื่นๆ ประกอบกับภาวการณ์แข่งขันมีค่อนข้างสูง ตลาดและส่วนผสมทางการตลาดในทุกๆ ด้านดังนี้
1. ด้านผลิตภัณฑ์ (product) ต้องมุ่งเน้นที่คุณภาพของอาหารและบริการ ต้องมีคุณค่าทางโภชนาการและถูกหลักอนามัย
2. ด้านราคา (price) ต้องเป็นราคาที่เหมาะสมกับชนิดและประเภทของอาหาร โดยต้องคำนึงถึงคุณภาพ ต้นทุน การให้บริการ ต้องหมั่นสำรวจตลาด และคู่แข่งเสมอ
3. ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (place) ต้องรู้ว่าจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ด้วยวิธีใด อาทิสถานที่ตั้ง บริการส่งถึงที่ เป็นต้น
4. การส่งเสริมการขาย (promotion)ควรเลือกสื่อและโฆษณาที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด รวมทั้งการประสานงานกับบริษัทนำเที่ยว หรืออาจมีการรวมกลุ่มเป็นสมาคม อาทิ สมาคมภัตตาคาร (restaurant association)

ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและสินค้าที่ระลึกShopping and Souvenir Business
ธุรกิจจำหน่ายสินค้า คือ การประกอบธุรกิจขายปลีก เพื่อจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างหรือหลายอย่างแก่ผู้บริโภค ซึ่งหมายถึงบุคคลทั่วไปรวมถึงนักท่องเที่ยวประเภทของธุรกิจจำหน่ายสินค้าและบริการ
1.ห้างสรรพสินค้า ( Department Store)
หมายถึงกิจการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมสินค้าหลายอย่างเข้ามาไว้ภายในบริเวณเดียวกัน โดยแยกตามแผนก เพื่อเป็นการประหยัดเวลาของลูกค้าห้างสรรพสินค้ายังมีบทบาทสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ และได้ทำให้หลายๆ ประเทศพยายามพัฒนาภาพลักษณ์ให้เป็นสวรรค์ของการซื้อสินค้า
2.ศูนย์การค้า (Shopping Centers/Malls) คือการขายปลีกขนาดใหญ่ที่รวมร้านขายปลีกรวมทั้งห้างสรรพสินค้าเข้ามาอยู่ในอาคารเดียวกัน ตลอดจนบริการที่จอดรถตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ อาทิ โรงภาพยนตร์ ธนาคาร ภัตตาคารร้านค้าปลอดอากร (Duty-free shop)
3.ร้านปลอดภาษี (Tax-free shop) เป็นร้านค้าปลีกที่ขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเท่านั้น โดยสินค้าในร้านปลอดอากรนั้น มักเป็นสินค้าปลอดอากรที่นำเข้าจากต่างประเทศราคาสูงความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้าI. เป็นแหล่งกระจายสินค้าภายในประเทศออกไปยังต่างประเทศ ทั้งยังเป็นการช่วยเผยแพร่ชื่อเสียง หรือโฆษณาแหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น ผ้าไหม......... น้ำหอม............ นาฬิกา........-

กิจกรรมการซื้อสินค้าเป็นการสร้างความเพลิดเพลินให้แก่นักท่องเที่ยว
- ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมท้องถิ่น
- ก่อให้เกิดการจ้างงานของคนในท้องถิ่นธุรกิจสินค้าที่ระลึกคือ การประกอบธุรกิจและจำหน่ายสินค้าที่นักท่องเที่ยวซื้อและนำกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมของตน เพื่อเป็นของระลึก ของฝาก หรือแม้แต่เพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน สินค้าที่ระลึกมักถูกพัฒนาจากศิลปหัตถกรรมของแต่ละท้องถิ่น ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ ความเป็นอยู่ โดยใช้วัสดุของท้องถิ่นในการผลิตและใช้แรงงานภายในท้องถิ่นลักษณะสำคัญของสินค้าที่ระลึก
ก. เป็นสินค้าที่หายากและราคาแพง มีแหล่งผลิตเฉพาะที่
ข. เป็นสินค้าที่มีราคาถูกกว่าภูมิลำเนาของนักท่องเที่ยว
ค. เป็นสินค้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์แปลกและมีประโยชน์ใช้สอย
ง. เป็นสินค้าที่มีรูปร่าง ขนาด น้ำหนัก เหมาะสมต่อการขนส่ง ไม่เปราะบางหรือชำรุดง่าย
จ. เป็นสินค้าที่ใช้วัสดุและแรงงานในท้องถิ่น เป็นสินค้าที่นำวัสดุเหลือใช้ไร้ค่ามาแปรรูป
ฉ. เป็นสินค้าที่มีการแสดงขั้นตอนการผลิตให้นักท่องเที่ยวเห็นหรือทดลองทำ
ช. เป็นสินค้าที่ควรหาซื้อได้
ซ. เป็นสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นๆ

เมื่อเอ่ยถึงทุกคนสามารถเดาที่มาได้แบ่งตามคุณค่าแห่งการนำไปใช้
- ประเภทบริโภค
- ประเภทประดับตกแต่ง- ประเภทใช้สอย
- ประเภทวัตถุทางศิลปะความสำคัญของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึกทางสังคมและวัฒนธรรม
-สร้างอาชีพใหม่ๆ ให้กับคนในสังคม และการใช้เวลาว่างของประชาชนให้เกิดคุณประโยชน์
-ลดปัญหาสังคม และลดปัญหาการย้ายถิ่นฐาน
-การรู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรท้องถิ่น และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ
-สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและประเทศ-สร้างชื่อเสียงหรือเอกลักษณ์ของประเทศไปสู่โลกทางระบบการท่องเที่ยว
-ทำให้เกิดความสมบูรณ์ทางการท่องเที่ยว เป็นการเพิ่มความสุนทรีย์ ในการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการกลับมาเที่ยวอีกครั้งหนึ่ง
-ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความภูมิใจ หรือเป็นการสร้างการยอมรับทางสังคม เป็นการแสดงออกถึงฐานะทางเศรษฐกิจ

ธุรกิจนันทนาการ (Recreation Business)
หมายถึง การประกอบธุรกิจการให้บริการเพื่อความบันเทิงและเพลิดเพลินสำหรับคนเดินทางหรือนักท่องเที่ยวธุรกิจนันทนาการประกอบด้วยธุรกิจสวนสนุก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
-สวนสนุก (Amusement Park) เป็นสถานที่ที่สร้างเพื่อให้บริการด้านความบันเทิง สนุกสนานเพลิดเพลิน ประกอบด้วย เครื่องเล่นเกม การละเล่นต่างๆ ของคนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว
-สวนสนุกรูปแบบเฉพาะ (Theme Park) เป็นสวนสนุกที่มีสิ่งดึงดูดใจและมีแนวคิดทางการตลาดที่มุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจนธุรกิจบันเทิง เพื่อการท่องเที่ยว หมายถึง สถานบันเทิงยามค่ำคืนและการจัดการแสดงบนเวที (Performing art)ธุรกิจการกีฬาเพื่อการท่องเที่ยวธุรกิจกีฬาปกติ เป็นการจัดให้บริการสถานที่ที่นักท่องเที่ยวสามารถเล่นกีฬาได้ตามแหล่งท่องเที่ยวธุรกิจกีฬาตามเทศกาล เป็นการประกอบธุรกิจการจัดแข่งขันกีฬาตามเทศกาล

วันอังคารที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 8 ผลกระทบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจ
ด้านบวก

1.ช่วยให้เกิดรายได้แก่ท้องถิ่นภภายประเทศ
2.ช่วยทำให้เกิดรายได้ต่อรัฐบาล
3.ช่วยให้เกิดการจ้างงาน
4.ช่วยให้เกิดอาชีพใหม่
5.ช่วยให้เกิดรายรับเงินตราต่างประเทศ
6.ช่วยให้เกอดภาวะดุลชำระเงิน

ด้านลบ
1.ค่าครองชีพของคนไทยในพื้นที่สูงขึ้น
2.ราคาที่ดินแพงขึ้น
3.มีค่าใช้จ่ายต่างๆที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อาทิ เครื่องดื่มแอลกอออล์ ผลไม้ อาหาร
4.ทำให้สูญเสียรายได้นอกประเทศ
5.รายได้จากธุรกิจท่องเที่ยวต่างๆเป็นไปตามฤดูกาล

ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคม
ด้านบวก

1.เป็นการพักผ่อนหย่อนใจลดความตรึงเครียดจากการทำงาน
2.ช่วยให้เกิดสัติภาพแห่งมวลมนุษย์
3.ช่วยให้ประชาชนได้เห็นถึงศิลปวัฒนธรรมประเพณีของแต่ละท้องถิ่น
4.มาตราฐานการครองชีพดีขึ้น
5.คนในท้องถิ่นได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น
6.ช่วยเสริมอาชีพให้คนในท้องถิ่น
7.ช่วยให้สภาพแวดล้อมของท้องถิ่นดีขึ้น
8.การเดินทางท่องเที่ยวจะทำให้เกิดสันติภาพแห่งมวลมนุษย์
9.การท่องเที่ยวจะลดปัญหาการอพยพเข้าไปหางานทำในเมืองหลวง

ด้านลบ
1.ความรู้สึกไม่ดีต่อคนในท้องถิ่นจากนักท่องเที่ยว
2.การมีค่านิยมผิดๆ
3.โครสร้างครอบครัวเปลี่ยนแปลงเมื่อท้องถิ่นกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว
4.การลบเลือนของอาชีพดั้งเดิมของท้องถิ่น
5.ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม
6.ปัญหาโสเภณีและเพศพาณิชย์
7.ปัญหาบิดเบือนการเอารัดเอาเปรียบนักท่องเที่ยว
8.ปํยหาความไม่เข้าใจกันและความขัดแย้งกันระหว่างคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว
9.ช่วยให้เกิดการก่อสร้างดึงดุดใจด้านการพักผ่อนในพื้นที่
10.ปัญหาต่างๆเช่น ปัญหายาเสพติด

ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อวัฒนธรรม
ด้านบวก
1.เกิดงานเทศกาลเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
2.มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและนักท่องเที่ยวนิยมมากขึ้น
3.ช่วยเผยแพร่เอกลักษณ์ประเทศ
4.ผลกระทบอื่นๆ เช่นการเกิดความเชื่อถือของชาวบ้าน

ด้านลบ
1.คุฯค่าของงานศิลปะลดลง
2.วัฒนธรรมประเพณีถูกเสนอขายในรูปแบบของสินค้า
3.วัฒนธรรมของนักท่องเที่ยวมีบทบาทในการรับวัมนธรรมใหม่
4.เกิดการตระหนักทางวัฒนธรรม
5.การยอมรับพฤติกรรมและเลียนแบบพฤติกรรมนั้นๆ

สรุป
เมื่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวขยายตัวขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือผลกระทบดังกล่าวข้างต้น ผลกระทบดังกล่าวมีผลทำให้การท่องเที่ยวเป็นไปในลักษณะที่ไม่ยั่งยืน การที่ทำให้การท่องเที่ยวอยู่ต่อไปได้นานๆ ชั่วลูกชั่วหลาน คำพูดที่ว่า ใช้ไปด้วยและรักษาไปด้วย และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

บทที่ 7 ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว

แทร้นวล เอเจนซี่ (Traval agency)
ผู้เชี่ยวชาญทางอุคสาหกรรมการท่องเที่ยวให้ความหมาย ดังนี้ ธุรกิจขายปลีกที่ได้รับอนุญาติให้ขายผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวแทนผู้ประกอบธุรกิจ เช่น สายการบิน สายการเดินเรือ บริษัทรถไฟ หรือที่พักแรม

ความเป็นมา
ในอดีตผู้ที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวจะต้องติดต่อซื้อสินค้าทางการท่องเที่ยวโดยตรง ต่อมาจึงเกิดธุรกิจค้าปลีกที่อำนวยความสะดวกเกิดขึ้น โดย โทมัส คุก (Thomas Cook)ได้เปิดแทรเวล เอเจนซี่ในครั้งแรกใน พ.ศ 2388 ณ ประเทศอังกฤษ จึงทำให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าการท่องเที่ยวโดยไม่ต้องเดินทางไปซื้อโดยผู้ประกอบธุรกิจ แทรเวล เอเจนซี่จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางและท่องเที่ยวตั้งแต่นั้นมา

บทบาทหน้าที่ของแทรเวล เอเจนซี่
1.จัดหาราคาอัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว
2.ทำการจอง
3.รับชำระเงิน
4.ทำการส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง
5.ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ
6.ช่วยดำเนินการในการซื้อบัตรโดยสาร
7.ออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ

ประโยชน์ของการใช้บริการแทรเวล เอเจนซี่
1.มีความชำนาญในการหาข้อมูลและวางแผนในการท่องเที่ยว
2.สามารถหาข้อเสนอหรือราคาที่ดีที่สุด
3.ช่วยประหยัดเวลาและความลำบาก
4.แก้ปัญหาได้เมื่อเกิดข้อผิดพลาดหรือปัญหา
5.รู้จักแหล่งประกอบธุรกิจมากกว่า
6.รู้จักแหล่งท่องเที่ยวดีกว่า

ประเภทของแทรเวล เอเจนซี่
1.แบบที่มาแต่เดิม
2.แบบที่ขายทางอินเตอร์เน็ต
3.แบบที่ชำนาญเฉพาะทาง
4.แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก

บริษัททัวร์ หมายถึง ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่จัดทำดปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายโดยขายให้กับลูกค้าผ่าน แทรเวล เอเจนซี่
ทัวร์ หมายถึง รูปแบบการท่องเที่ยวที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า

ประโยชน์ของการใช้บริษัททัวร์
1.ประหยัดเวลาและค่าใชจ่าย
2.ประหยัดค่าใช้จ่าย
3.ได้ความรู้
4.ได้เพื่อนใหม่
5.ได้ความสบายใจและรู้สึกปลอดภัย
6.ไม่มีทางเลือกอื่น

ประเภทของทัวร์

1.ทัวร์แบบอิสระ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางแบบอิสระ
2.ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว โปรแกรมเหมาจ่ายที่ได้รับการบริการจากตัวแทนของบริษัท
3.ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว โปรแกรมเหมาจ่ายที่รวมการบริการของมัคคุเทศก์ตลอดเส้นทาง

บทที่ 6 ที่พักแรม

ที่พักแรมมีบทบาทโดยตรงในการสนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยว เนื่องจากนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางที่ห่างไกล และจำเป็นต้องค้างแรมพักผ่อนระหว่างการเดินทาง

ความเป็นมา
โรงแรมเป็นประเภทธุรกิจที่พักแรมที่สำคัญในปัจจุบัน คำเรียกที่พักว่า hotel นี้เดิมมาจากภาษาฝรั่งเศษและมาปรากฏใช้เรียกธุรกิจประกอบการที่พักดรงแรมในอังกฤษและอเมริกา ศตวรรษที่ 18 รูปแบบบริการในโรงแรมได้รับความนิยมมาแต่อดีตจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะและเป็นที่รู้จักทั่วไปของนักท่องเที่ยว

ธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทย
กิจการโฮเต็ลหรือโรงแรมที่สำคัญในอดีตได้แก่
-โฮเต็ลหัวหิน
-โฮเต็ลวังพญาไท
-โรงแรมรัตนะโกสินทร์

ปัจจัยพื้นฐานในการบริการที่พักโรงแรม
-ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน
-ความสะอาดและสุขอนามัยในสถานที่พัก อาหาร-เครื่องดื่ม
-ความสะดวกสบายจากการบริการ
-ความเป็นส่วนตัว
-บรรยากาศการตกแต่งที่สวยงาม
-ภาพลักษณ์ของกิจการและอื่นๆ

ประเภทที่พักแรม
1.โรงแรม
1.1เกณฑ์การจำแนกประเภทโรงแรม
-ด้านที่ตั้ง
-ด้านขนาด
-ด้านจุดประสงค์ของผู้มาพัก
-ด้านราคา
-ด้านระดับการบริการ
-ด้านการจัดระดับมาตราฐานโดยใช้สัญญาลักษณ์
-ด้านความเป็นเจ้าของและรูปแบบการบริหาร
โรงแรมอิสระ เป็นโรงแรมที่เจ้าจองกิจการดำเนินการเอง นโยบายและคิดวิธีการกำหนดขึ้นเองอย่างอิสระ
โรงแรมจัดการแบบกลุ่ม โรมแรมที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการแบบกลุ่ม

2.ที่พักนักท่องเที่ยว
-บ้านพักเยาวชนหรือโฮเทล
-ที่พักพร้อมอาหารเช้าราคาประหยัด
-ที่พักริมทางหลวงได้แก่โมเต็ล
-ที่พักแบบจัดสรรเวลาแบบไทม์แชริ่ง
-เกสต์เฮ้าส์
-อาคารชุดบริการที่พักระยะยาวหรือเซอร์วิสอพาร์ทเม้นต์
-ที่พักกลางแจ้ง
-โฮมสเตย์

แผนกงานในโรงแรม
-แผนกงานส่วนหน้า
-แผนกงานแม่บ้าน
-แผนกอาหารและเครื่องดื่ม
-แผนกขายและการตลาด
-แผนกบัญชีและการเงิน
-แผนกทรัพยากรมนุษย์

รูปแบบการจัดห้องมาตราฐานโรงแรมทั่วไป

-Single ห้องพักแบบนอนคนเดียว
-Twin ห้องพักแบบเตียงคู่แฝด
-Double ห้องพักแบบเตียงคูขนาดใหญ๋เตียงเดียว
-Suit ห้องชุดที่ภายในประกอบด้วยห้อง 2 ห้องขึ้นไปกั้นเป็นสัดส่วนแบ่งเป็นห้องนอนและห้องนั่งเล่น

บทที่ 5 การคมนาคมข่นส่ง

พัฒนาการข่นส่งทางบก
เริ่มในสมัย 200 ปีก่อน คริสตกาล หรือยุคบาบิลอน ซึ่งใช้คนลากรถสองล้อไปบนถนน ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นสัตว์ เช่น วัว ม้า ลา มาช่วยลากรถสองล้อในยุคอียิปต์และกรีก ในศตวรราที่ 18 ได้มีการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ และได้ผลิตรถไฟไอน้ำในประเทศอังกฤษขบวนแรกขึ้นในปี ค.ศ 1825 ต่อมาเนื่องจากความนิยมรถไฟน้อยลงจึงได้มีการประดิษฐ์คิดค้น รถยนต์เป็นพาหนะสำคัญแทนที่รถไฟในปี ค.ศ 1920

พํฒนาการข่นส่งทางน้ำ
การข่นส่งทางน้ำเป็นการขนส่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก จนกระทั่งใน พ.ศ 1819 มีเรือที่สามารถเดินข้ามในมหาสมุทรครั้งแรกได้คือ เรือกลไฟ เป็นเรือที่เล่นระหว่างเมือง savana รัฐจอร์เจียกับเมือง Liverpool ใช้เวลา 29 วัน แต่เป็นเรือข่นส่งหีบห่อพัสดุภัณฑ์ทางไปราณีย์เป็นหลักมีผู้โดยสารไม่มากนัก

พัฒนาการขนส่งทางอากาศ
เที่ยวบินให้บริการขนส่งผู้โดยสารให้บริการครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการบริการเที่ยวบินโดยสารประจำทาง โดยบินระหว่าง Boston และ Newyork ใน ค.ศ 1935 ในปี พ.ศ 2544 รัฐบาลเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในธุรกิจการบินภายในประเทศ เช่นแอร์อันดามัน ภูเก็ตแอร์ และโอเรียนไทย

ในสงครามโลกครั้งที่ 2 เครื่องบินได้ถ฿กดัดแปลงให้เป็นพาหนะของทหารเร่งการพัฒนาขีดความสามารถของเครื่องยนต์ไห้มีขนาดใหญ่ขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ละประเทศได้เร่งแข่งขันกันที่จะนำเครื่องบินที่จะได้รับการปรับปรุงและพัฒนาแล้วมาใช้ในเชิงพานิชณ์

ประเภทของธุรกิจการคมนาคมขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว
1.ธุรกิจการข่นส่งทางบก
-การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถไฟ
-การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถยนต์ส่วนบุคคล
-การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถเช่า
-รกิจการเช่ารถ
รถโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว
-รถโดยสารประจำทาง การบริการจุดจุดหนึ่งไปอีกจุดจุดหนึ่งตามตาราง
-รถโดยสารไม่ประจำทางหรือรถเช่าเหมา เดินทางสะดวกสบายและประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่าย

2.ธุรกิจการขนส่งทางน้ำ
การเดินเรือท่องเที่ยวทางน้ำแบ่งออกเป็นหลายประเภทดังนี้
-เรือเดินทะเล เป็นเรือคมนาคมจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง
-เรือสำราญ คล้ายโรงแรมลอยน้ำมีความสะดวกสะบายครบครัน
-เรือข้ามฟาก เป็นเรือสำหรับการเดินทางระยะสั้น ใช้บรรทุกทั้ง ผูโดยสาร รถยนต์ รถโดยสาร หรือบางครั้งรถไฟ
-เรือใบและเรือยอร์ช ในอดีตจะมีเพียงผูมีฐานะร่ำรวยเท่านั้นที่สามารถซื้อได้ ปัจจุบันผู้ที่มีฐานะปานกลางสามารถเช่าเรือสำหรับท่องเที่ยวได้
-เรือบรรทุกสินค้า นักท่องเที่ยวบางกลุ่มชอบเดินทางกับเรือบรรทุกสินค้าที่ไม่เร่งรีบและจอดตามเมืองต่างๆ ทั่วโลก โดยเรือบรรทุกสินค้าสามารถรับผู้โดยสารได้ 12 คนโดยมีห้องพักสะดวกสะบายแต่มีราคาถูกกว่าเรือสำราญ

3.ธุรกิจการขนส่งทางอากาศ
สงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อให้เกิดผลดีในระยะยาวต่อการเติบโตของธุรกิจการบินพาณิชย์
การเดินทางท่องเที่ยวแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่คือ
3.1การบินลักษณะเที่ยวบินประจำภายในประเทศ เป็นการบินระหว่างเมืองต่อเมืองมีตารางบินที่แน่นอน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยคือ
-เที่ยวบินประจำภายในประเทศ
-เที่ยวบินประจำระหว่างประเทศ
3.2การบินลักษณะเที่ยวบินไม่ประจำ เป็นการบินที่จัดเสริมในตาราง
3.3การบินลักษณะเช่าเหมาลำ เป็นการบินที่ให้บริการกลุ่มสามชิกหรือองค์การ หรือกลุ่มนักท่องเที่ยว รับ ส่งผู้โดยสารเฉพาะกลุ่มเดิมได้เท่านั้น ราคาค่าดดยสารจะถูกกว่าปกติ




วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 4 องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว





ธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ


ธุรกิจที่จัดว่าเป็นองค์ประกอบหลัก และธุรกิจที่จัดว่าเป็นองค์ประกอบเสริมดังที่ได้กล่าวไปในบทที่ 1 แล้วในบทนี้จะศึกษาเรื่องขององค์ประกอบหลักประเภทแรกคือ แหล่งท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยว
คำจำกัดความ 3 คำที่จำเป็นในการศึกษาแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่

1.ทรัพยากรการท่องเที่ยว
2.จุดหมายปลายทาง
3.สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว



จากความหมายของทั้ง 3 คำข้างต้น อาจสรุปความหมายของแหล่งท่องเที่ยวได้ว่า คือ สถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเที่ยวหรือประกอบกิจกรรมต่างๆเพื่อสนองตอบต่อจุดประสงค์ด้านความพึงพอใจ หรือด้านนันทนาการ





ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว จัดแบ่งได้ด้วยลักษณะเฉพาะต่างๆได้แก่

-ขอบเขต อาจแบ่งจุดมุ่งหมายหลักได้ 2 แบบ คือ จุดมุ่งหมายหลักกับจุดมุ่งหมายรอ

-ความเป็นเจ้าของ แหล่งท่องเที่ยวทั้งธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น

-ความคงทนถาวร การแบ่งอายุของแหล่งท่องเที่ยว-ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งจะสนองความต้องการ หรือจุดประสงค์ของนักท่องเที่ยวต่างกัน


การท่องเที่ยวในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่

1.แหล่งท่องเที่ยวเป็นธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยวที่เกิดขึนเองตามธรรมชาติทั้งด้านชีวภาพและกายภาพ

2.แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น สถานที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างและอายุ

3.แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่พัฒนามาจากวัฒนธรรมประเพณี การดำรงชีวิตของผู้คน



แหล่งท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย


-ภาคกลาง ประกอบด้วย 21จังหวัด และเขตการปกครองพิเศษ

-ภาคเหนือ ประกอบด้วย 17 จังหวัด

-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 19 จังหวัด

-ภาคตะวันออก ประกอบด้วย 4 จังหวัด

-ภาคใต้ ประกอบด้วย 14 จังหวัด














วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยว






แรงจูงใจ
แรงจูงใจเป็นตัวกำหนดบุคลิกตภาพของบุคคล แรงจูงใจด้านการท่องเที่ยว หรือแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวเป็นแนวคิดที่เป็นแบบลูกผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิทยา ผสมกับแนวคิดทางด้านสังคมวิทยา แรงจูงใจจึงหมายถึงเครือข่าย(Network)ทั้งหมดของพลังทางวัฒนธรรมและพลังชีววิทยา ซึ่งเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการท่องเที่ยว พลังทางสังคมน่าจะเป็นความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งของโลก การท่องเที่ยวไปในดินแดนที่เพิ่งเปิดตัวต่อโลกภายนอกกำลังเป็นสมัยนิยมอย่างหนึ่งของคนวัยหนุ่มสาวในปัจจุบัน

ทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1.ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น(Hierarchy of needs)
Maslow กล่าวว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการ และจะแสดงพฤติกรรมต่างๆ เพื่อที่จะสนองความต้องการ ความต้องการของมนุษย์ไม่มีวันจบสิ้นเมื่อความต้องการอย่างหนึ่งได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการอีกอย่างหนึ่งมาแทนที่ Maslow ได้เสนอลำดับขั้นการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งหลาย 5 ขั้น
1.1ความต้องการความสำเร็จแห่งตน
1.2ความต้องการที่จะมีเกียรติยศชื่อเสียง
1.3ความต้องการทางด้านสังคม
1.4ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต
1.5ความต้องการทางด้านสรีรวิทยา

2.ทฤษฎีขั้นบันได้แห่งการเดินทาง(Traval Career Ladder)
ผู้นำเสนอทฤษฎีนี้คือ Philip Pearce ความต้องการทางด้านการท่องเที่ยวมีการพัฒนาเป็นลำดับขั้นเช่นเดียวกับทฤษฎีของ Maslow ความต้องการจะเริ่งมีความลึกลับซับซ้อนมากขึ้นเมื่อนักเดินทางมีประสบการณ์มากขึ้น
ขั้นบันไดแห่งการเดินทาง
1.ความต้องการสูงสุด คือ ความต้องการความสำเร็จแห่งตน และความต้องการที่จะได้รับประสบการณ์อันหลากหลาย
2.ความต้องการความภาคภูมิใจและพัฒนาตนเอง คือ ความต้องการที่จะพัฒนาทักษะของตนเอง
3.ความต้องการสร้างสัมพันธภาพ คือ ความต้องการที่จะไห้ความเป็นมิตรและความรักแก่ผู้อื่น
4.ความต้องการความปลอดภัยมั่นคง คือ ความต้องการที่จะดำรงชีวิตอย่างมั่นคง และมีความปลอดภัย
5.ความต้องการที่จะได้รับความพึงพอใจสูงสุด คือ ความต้องการลิ้มรสความหิวกระหาย ความต้องการทางเพศและการผ่อนคลาย

3.แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น(Hidden Agenda)ของ Compton
แรงจูงใจวาระซ่อนเร้นมี 7 ประเภทดังนี้

1.การหลีกหนีสถานภาพที่จำเจ
2.การสำรวจและการประเมินตนเอง
3.การพักผ่อน
4.ความต้องการเกียรติภูมิ
5.ความต้องการที่จะถอยกลับไปสู่สภาพดั้งเดิม
6.กระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติ
7.การเสริมสร้างการปะทะสังสรรค์ทางสังคม

4.แรงจูงใจในทางการท่องเที่ยวในทัศนะของ Swarbrooke
แรงจูงใจที่สำคัญที่ทำให้คนเดินทางแบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้
แก่
1.แรงจูงใจด้านสรีระหรือกายภาพ
2.แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
3.การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง
4.การท่องเที่ยวเพื่อให้มาเพื่อสถานภาพ
5.แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง
6.แรงจูงใจส่วนบุคคล

แนวโน้มของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1.แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสสิ่งแวดล้อม
2.แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น
3.แรงจูงใจที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
4.แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว
5.แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย
6.แรงจูงใจที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ
7.แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี
8.แรงจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย
9.แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม
10.แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง

ตัวอย่างการวิจัยที่ใช้วิธีการศึกษาจากกลุ่มเป้าหมาย
นักเดินทางประเภทแบกเป้ (Backpackers) นักเดินทางแบบนี้กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆในออสเตรเลีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และนิวซีแลนด์ แรงจูงใจที่ทำให้เกิดการเดินทางในลักษณะนี้อาจสรุปได้เป็น 4 มิติดังนี้
1.การหลีกหนี อาจเป็นการหลีกหนีจากความรับผิดชอบหรือการหยุดที่จะเลือกการตัดสินใจ
2.การมุ่งเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการท่องเที่ยวส่วยใหญ่จะเน้นด้านสิ่งแวดล้อมและการผจญภัยเป็นหลัก
3.การทำงาน เป็นแรงจูงใจในด้านการทำงานในระหว่างการท่องเที่ยว และพัฒนาทักษะการทำงานในเวลาเดียวกัน
4.เน้นการคบหาสมาคม นักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ที่มีแรงจูงใจที่ชัดเจนคือ ความต้องการที่จะกระชับความสัมพันะกับผู้อื่น หรือแรงจูงใจทางด้านสังคมนั่นเอง


โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้แก่
1.ระบบไฟฟ้า
2.ระบบประปา
3.ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
4.ระบบการขนส่ง ประกอบไปด้วย
4.1 ระบบการเดินทางอากาศ
4.2 ระบบการเดินทางบก
4.3 ระบบการเดินทางน้ำ
5.ระบบสาธารณะสุข
ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค
1.ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
1.1 ลักษณะภูมิประเทศ
1.2 ลักษณะภูมิอากาศ
2.ปัจจัยทางวัฒนธรรม